ประกาศผลรางวัล “การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 2 ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2560 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

พฤหัส ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๑๐
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัด "การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์" ครั้งที่ 2 หวังสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ ผ่านเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความรู้ควบคู่กัน โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวมนัสวี วงษ์เจริญ ประเภทเยาวชน จากเรื่อง "Spare Human" และนายศิริ มะลิแย้ม ประเภทประชาชนทั่วไป จากผลงานเรื่อง "นักออกแบบห้วงมายากาล"

รศ.ดร.มรว.ชิษนุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 2 กล่าวว่า ขอแสดงความยินดี และชื่นชมในความพยายามตั้งใจของผู้เข้าร่วมการประกวด และผลงานทุกผลงาน ที่สามารถนำจินตนาการผสานกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์เป็นผลงานด้านวรรณศิลป์ที่น่าประทับใจ โดยอาศัยการสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านความสนุกและบันเทิง เพื่อส่งเสริมสังคมให้เกิดความตระหนักว่าการใช้ชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคต ควรเตรียมตัวและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยหวังว่าการประกวดครั้งนี้จะเป็นอีกแรงผลักดันให้เกิดนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เกิดขึ้นในสังคมไทยต่อไป

ในการโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่มีความสนใจในเรื่อง สั้นแนววิทยาศาสตร์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมากถึง 181 เรื่อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทเยาวชน ประเภทประชาชนทั่วไป และประเภทกลุ่ม โดยทางคณะกรรมการจาก อพวช. มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้กำกับภาพยนตร์จาก GDH 559 ได้ร่วมกันคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่นด้านเนื้อหา และมีลีลาการเขียนที่น่าสนใจชวนติดตาม ให้เหลือเพียง 15 เรื่อง เพื่อรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือ "มายามนุษย์เทียม" ได้แก่ ประเภทเยาวชน รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง "Spare Human" โดย นางสาวมนัสวี วงษ์เจริญ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง "Letters from the Future" โดย นายภาคภูมิ ชัยชนะ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง "เด็กโลกใหม่" โดย นายกิตติ อัมพรมหา รางวัลชมเชย 3 รางวัล จากผลงานเรื่อง "สมุดบันทึกความฝันของคุณหมอแบ็ค" โดย นายกฤตชนิศ เชื้อแก้ว ผลงานเรื่อง "Connection" โดย นายวรวุฒิ อวรรณ และผลงานเรื่อง "จินตมิติ" โดย นายสุริยา เตชะลือ ประเภทประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง "นักออกแบบห้วงมายากาล" โดย นายศิริ มะลิแย้ม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง "แอนดรอยด์ไม่เอาไหนของพ่อ" โดย นายธัญธัช รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง "จักรกลสงคราม" โดย นายปิยะโชค ถาวรมาศ รางวัลชมเชย 5 รางวัล จากผลงานเรื่อง "วัฏฏะเวลา" โดย นายจักรพงษ์ จีนะวงษ์ ผลงานเรื่อง "พ.ร.บ.ชิพ" โดย นายชูชาติ ทรัพย์นิธิ ผลงานเรื่อง "ความฝันโรยกลีบกุหลาบ" โดย นายศรินธร ภัสดาวงศ์ ผลงานเรื่อง "ผู้จัดการซาก" โดย นายสาทิส ไฟพิมพ์ ผลงานเรื่อง "ความหวังในปี 2150" โดย มายา ประเภทกลุ่ม รางวัลชมเชย จากผลงานเรื่อง "แด่มาตุภูมิ" โดย อสิตา และ ดร.สฎา อยู่สถาพร

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม ผ่านนิทรรศการและกิจกรรม ที่หลากหลาย การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความตระหนักให้กับสังคมหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น วิทยาศาสตร์ดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คน ดังนั้นการนำวิทยาศาสตร์มานำเสนอในรูปแบบ เรื่องสั้น นวนิยาย ที่ค่อยๆ อธิบายผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงได้ว่ามันอยู่ในชีวิตเราอย่างไร และในบางครั้งเนื้อหาเกินจริงด้วยสร้างจากจินตนาการ แต่ก็มีจินตนาการในหลายเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์นำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีให้เห็นในปัจจุบัน

สำหรับผู้สนใจ ผลงานเขียนทั้ง 15 เรื่อง สามารถติดตามอ่านได้ในหนังสื่อรวมเล่มเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เรื่อง "มายามนุษย์เทียม" พิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ในเดือนกันยายน 2560

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ