ผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศยื่นหนังสือนายกฯ ค้านนำเข้าหมูสหรัฐฯ หวั่นสารเร่งเนื้อแดงทำลายคนในชาติ

ศุกร์ ๒๕ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๕๐
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นายพิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรราชบุรี และตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ อาทิ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบนเพื่อการค้า สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรชลบุรี จำกัด สหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ ราชบุรี จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรเพื่อการค้านครราชสีมา จำกัด ร่วมกันยื่นหนังสือคัดค้านการนำเข้าชิ้นส่วนสุกรสหรัฐฯถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ผ่าน พล.ต.ท.ชินภัทร สารสิน ผู้ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เพื่อ ปกป้องความปลอดภัยทางอาหารของผู้บริโภคชาวไทยและอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร หลังสหรัฐฯอ้างเหตุขาดดุลการค้ากับไทย และหยิบยกประเด็นให้ไทยนำเข้าเนื้อสุกรสหรัฐฯขึ้นมาเจรจาอีกครั้ง

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากประเด็นการเร่งรัดแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาโดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐที่สร้างแรงกดดันทางการค้า ต่อสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พยายามให้ไทยรับชิ้นส่วนเนื้อสุกรที่ชาวอเมริกันไม่รับประทาน อาทิ เครื่องใน หัวหมู เพื่อระบายสินค้าเหลือทิ้งดังกล่าวมายังไทย โดยฟาร์มสุกรทั้ง 100% ของสหรัฐฯ มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง (แร็คโตปามีน) เนื่องจากใช้ได้อย่างถูกกฏหมาย ขณะที่สารดังกล่าวเป็นสารต้องห้ามตามบัญญัติในกฎหมายไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุข

"การใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสุกรในสหรัฐขัดต่อกฎหมายไทย ดังจะเห็นได้จากกรมปศุสัตว์ที่มีมาตรการเข้มงวดในการตรวจจับผู้ลักลอบใช้และลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง ขณะที่ทุกประเทศที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคจะห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในภาคปศุสัตว์ อาทิ สหภาพยุโรป รัสเซีย และจีน ดังนั้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องขอร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลไทย ยืนยันการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด เพื่อปกป้องประชาชนไทย ปกป้องเกษตรกรไทยและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเกษตรที่เป็นรากฐานและเสาหลักของประเทศ" นายสุรชัยกล่าว

สหรัฐฯ เป็นแหล่งผลิตสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงทั้งประเทศ ขณะที่ประเทศไทยประกาศห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เพื่อความปลอดภัยในอาหารและสุขอนามัยของผู้บริโภค ประกาศดังกล่าวห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือยาในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ผสมอาหารสัตว์ทุกตัว (รวมทั้งแร็กโตปามีน) เนื่องจากสารดังกล่าวมีโทษต่อสัตว์และมนุษย์

ขณะเดียวกัน อาชีพการเลี้ยงสุกรช่วยสร้างความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกรไทยทั่วประเทศมาช้านาน และในกระบวนการผลิตสุกรของไทยนั้นมีพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่องกระทั่งสามารถผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ หากมีเนื้อสุกรจากสหรัฐฯเข้ามาอีกจะส่งผลให้ปริมาณสุกรล้นตลาดเกินความต้องการ ราคาสุกรจะตกต่ำลงส่งผลกระทบให้เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุน และล้มละลายไปดังที่ปรากฏให้เห็นแล้วในประเทศเวียดนามที่เปิดรับเนื้อสุกรสหรัฐฯ

"ไม่เพียงผู้เลี้ยงสุกรกว่า 2 แสนครอบครัวเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่จะมีผลเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปถึงเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งอุตสาหกรรมสูงถึง 80,000 ล้านบาท หากต้องล่มสลายเพราะสุกรสหรัฐฯบุกตลาดไทยแล้ว ย่อมต้องกระทบภาพรวมเศรษฐกิจของชาติ" นายสุรชัยกล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!