แนะเกษตรกรพิจิตร ปลูกอ้อยโรงงาน และ มะพร้าว ทดแทนพื้นที่นาไม่เหมาะสม

ศุกร์ ๒๕ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๑๓
สศท. 12 เปิดผลศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้า โดยใช้ Agri - Map เผย จังหวัดพิจิตร มีพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าวนาปี คิดเป็นร้อยละ 91.90 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด แนะเกษตรกรในพื้นที่ไม่เหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน และมะพร้าวทดแทนได้ ซึ่งได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าที่สำคัญ (Zoning) โดย Agri - Map จังหวัดพิจิตร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์ (สศท.12) ดำเนินการวิเคราะห์สภาพทางกายภาพร่วมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และกำหนดแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) ปานกลาง (S2) และการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N)เป็นการผลิตพืชทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

สำหรับจังหวัดพิจิตร มีสินค้าเกษตรที่สำคัญ ที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 4 ลำดับแรก ได้แก่ ข้าวนาปี ไข่เป็ด ส้มโอ และมะนาว สำหรับการศึกษาครั้งนี้ สศท.12 ได้ใช้ Agri-Map กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลทางการผลิต ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ดังกล่าวใช้ประกอบการตัดสินใจทำการผลิตของเกษตรกร และเป็นแผนส่งเสริมการผลิตทางเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่

ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผอ.สศท.12 กล่าวถึงผลการศึกษาว่า จากการใช้ Agri-Map จัดเก็บข้อมูลทางการผลิต ได้แก่ ผลผลิตต่อไร่ ต้นทุนการผลิต ราคา ผลตอบแทน และข้อมูลบัญชีสมดุลของสินค้าเกษตรที่สำคัญ ตัวอย่างในผลการศึกษา พบว่า

ข้าวนาปี มีพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูก คิดเป็นร้อยละ 91.90 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด มีพื้นที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก คิดเป็นร้อยละ 8.10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด สำหรับพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N) ของการปลูกข้าวจังหวัดพิจิตร สามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกสินค้าอื่น ได้ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 การปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงานทดแทน พบว่า การปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะให้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 1,002.76 บาท หากปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงานจะได้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 3,841.52 บาท

ทางเลือกที่ 2 การปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยปลูกมะพร้าวทดแทน พบว่าการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะให้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 1,002.76 บาท หากปรับเปลี่ยนไปปลูกมะพร้าวจะได้ ผลตอบแทนสุทธิ 5,393.21 บาท ทั้งนี้ หากสนใจข้อมูลผลการสำรวจ สามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำได้ที่ส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร สศท.12 โทร. 056 803 525 หรือ อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย