นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เติบโตโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยผลักดันชุมชนอำเภอลับแล สร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจจากภายในสู่ภายนอกประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล ทั้งนี้ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของชุมชนอำเภอลับแล และส่งเสริมให้เยาวชนและคนไทยได้ร่วมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และหัตถกรรมของประเทศ โดยอำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ มีผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ หมวกถักทอ ผ้าซิ่น
ข้าวกล้องหอมนิล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนอำเภอลับแล ได้แก่ แหล่งทอผ้าไทยยวน ชุมชนบ้านหนอง ตำบลศรีพนมมาศ บานประตูวิหารวัดดอนสัก เป็นคู่บานประตูไม้จำหลักโบราณสมัยอยุธยา ซึ่งเป็น 1 ใน 2 คู่บานประตูสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และตลาดผลไม้ชุมชนหัวดง ตำบลแม่พูล เป็นต้น
นายประจักษ์ มโนจันทร์เพ็ญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักขายและบริการลูกค้าภูมิภาคที่ 5 หัวหน้าคณะทำงานโครงการ TOT Young Club กล่าวว่า โครงการ TYC เป็นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR ซึ่งกิจกรรม TYC "เด็กไทยมีดี ใช้ไอทีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน" ปี 2560 ที่ชุมชนอำเภอลับแลนับเป็นแห่งที่ 7 ของปี 2560 ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อร่วมเป็นพลังประชารัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง ที่นอกจากการสนับสนุนให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขยายตลาดสร้างเศรษฐกิจชุมชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนชุมชนนำผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปสร้างมูลค่านำไปสู่รายได้เพิ่มให้กับชุมชน ซึ่งสอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นๆ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้โครงการ TYC มีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน ทั้งส่วนราชการท้องถิ่น อบต. หน่วยงานท่องเที่ยว สื่อมวลชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในชุมชน โดย TOT ให้ความรู้เด็กกับการนำเทคโนโลยีมาขยายตลาดสร้างรายได้ให้ชุมชน ด้วยการเสริมสร้างอาวุธทางปัญญาให้กับเยาวชนในการนำความรู้ด้าน Social Mediaมาสนับสนุนเพื่อขยายภาคการตลาดสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงสนับสนุนภูมิปัญญาความรู้ในท้องถิ่น นำผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนมาบริหารจัดการสร้างสรรค์พัฒนา เพื่อสร้างโอกาสให้กับชุมชน เพื่อขับเคลื่อนชุมชนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และทั้งนี้ TYC นับเป็นหนึ่งในโครงการที่จะไปสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยภายในโครงการเน้นการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชน ปี 2560 โครงการ TYC ของ ทีโอที ได้สนับสนุนทั้งในด้านของ application การซื้อขายออนไลน์ การพัฒนาและทำตลาดผ่านเว็บไซต์และ facebook ของชุมชน ซึ่งจะตอบโจทย์ของรัฐบาลในการที่จะสร้างมูลค่าในสินค้าและบริการด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชนขยายสู่ตลาด โดยโครงการฯ จะมีการ อบรมให้ความรู้ในการใช้งานด้าน ICT ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนของตนเอง เช่น การสร้าง web pageชุมชน การใช้ Facebook การตกแต่งภาพ การถ่ายทำวิดีโอ พร้อมทั้งการนำเสนอขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทาง e-commerce ด้วยการสร้างสื่อSocial media ของชุมชนสร้างเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชนร่วมกัน รวมถึงการนำระบบการซื้อขาย e-Commerce มาต่อยอดขยายตลาดให้กับชุมชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทีโอที จัดกิจกรรมชุมชนใหม่ TYC ไปแล้ว จำนวน 6 ชุมชน คือ
ชุมชนบ้านเกาะหวาย จ.นครนายก https://www.facebook.com/tyckohwai/
ชุมชนถ้ำรงค์ จ.เพชรบุรี https://www.facebook.com/tycthamrong/
ชุมชนน้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ https://www.facebook.com/tycnamkliang/
ชุมชนเรณูนคร จ.นครพนม https://www.facebook.com/tycrenu/
ชุมชนวิทยาลัยอาชีวสิงห์บุรี https://www.facebook.com/tycsingburi/
ชุมชนเทศบาลตำบลป่าป้อง https://www.facebook.com/TYCpapong/
สำหรับชุมชนใหม่จะดำเนินการตามโครงการของ ปี 2560 อีกจำนวน 5 ชุมชน คือ ชุมชนพนางตุง จ.พัทลุง ชุมชนกะเปอร์ จ.ระนอง ชุมชนบ้านดงกระทงยาม จ.ปราจีนบุรี ชุมชนมาบตาพุด จ.ระยอง ชุมชนบางน้ำผึ้ง จ.กรุงเทพมหานคร