เกษตรฯ แถลง ยอดเบิกจ่ายงบปี 60 โชว์ผลงานโดดเด่น ปฏิรูปเกษตร ยกระดับเกษตรกร

ศุกร์ ๐๑ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๕:๔๖
กระทรวงเกษตรฯ แจงผลเบิกจ่ายงบประมาณ ณ 18 สิงหาคม 60 เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ 78.16 แจงจัดสรรงบสร้างผลงานปฏิรูป?ภาค?การ?เกษตรให้เป็นรูปธรรม พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ย้ำความสำเร็จ ยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2560 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 90,050.07 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2560) เบิกจ่ายแล้ว 70,386.45 ล้านบาท (ร้อยละ 78.16 ของงบประมาณที่ได้รับ) หากพิจารณาผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เมื่อแยกตามประเภทหมวดรายจ่ายงบประมาณ พบว่า

รายจ่ายลงทุน กระทรวงเกษตรฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 46,032.31 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 33,428.04 ล้านบาท (ร้อยละ 72.62) โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

ระบบส่งน้ำและกระจายน้ำ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 0.102 ล้านไร่ เพิ่มความจุ 381.22 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 60 จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 0.777 ล้านไร่ และเพิ่มความจุเก็บกักได้ 439.23 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน 4 แห่ง ก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 44,000 บ่อ ปรับปรุงพื้นที่และจัดทำระบบส่งน้ำในไร่นา และจัดการแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมทั้งการปฏิบัติการฝนหลวงและบริการด้านการบิน มีจำนวนพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง ทั้งสิ้น 225.31 ล้านไร่

รายจ่ายประจำในส่วนของงบสำหรับดำเนินงาน (ไม่รวมบุคลากร) จำนวน 18,709.28 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 14,832.38 ล้านบาท (ร้อยละ79.28 ของงบดำเนินงาน) มีผลการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ คือ

ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2560 ได้มีการรวมกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ 2,512 แปลง พื้นที่ 3.39 ล้านไร่ เกษตรกร 247,770 ราย จำนวน 73 สินค้า

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เกษตรกรได้รับการอบรม จำนวน 44,100 ราย จัดตั้งเครือข่าย ศพก. 10,492 ศูนย์ เพื่อให้บริการเกษตรกร

โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) ปี 2560 ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 157,701 ไร่ รวม 53 จังหวัด จาก ข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) เป็นอ้อยโรงงาน ปศุสัตว์ ประมง เกษตรผสมผสาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน หม่อนไหม

โครงการเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรได้รับรองการทำเกษตรอินทรีย์ 8,341 ราย 308,000 ไร่ มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ได้รับส่งเสริมแล้ว 59,082 ไร่ รวมเป็นพื้นที่สะสม 308,000 ไร่ โดยพื้นที่ยโสธรโมเดล ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกร 3,986 ราย สนับสนุนปัจจัยการผลิต 158 ราย ได้รับการรับรองมาตรฐาน 2,600 ราย และในพื้นที่ทั่วไปถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร 9,759 ราย สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร 320 ราย ได้รับการรับรองมาตรฐาน17,952 ราย

โครงการธนาคารสินค้าเกษตร จัดตั้งธนาคารสินค้าเกษตร 7 ประเภท จำนวน 228 แห่ง เกษตรกรได้รับประโยชน์ 34,657 ราย ลดต้นทุน/รายจ่าย536.86 ล้านบาท และเพิ่มรายได้รวม 91.97 ล้านบาท

การจัดที่ดินในเขตปฏิรูปทีดินเพื่อเกษตรกรรม จัดที่ดินทำกิน 30,264 ราย 354,966 ไร่ การจัดที่ดินชุมชน 11,963 ราย 6,979 ไร่

มาตรฐานสินค้าเกษตร ตรวจรับรองฟาร์ม 107,717 แปลง/ฟาร์ม และอยู่ระหว่างตรวจรับรองอีกกว่า 100,000 แปลง/ฟาร์ม คาดว่าทั้งปีได้ไม่น้อยกว่า 250,000 แปลง/ฟาร์ม รวมปริมาณผลผลิตที่ได้มาตรฐานไม่น้อยกว่า 600,000 ตัน เพื่อขับเคลื่อนงานมาตรฐานครบวงจร ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ