กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการ OPOAI ลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคใต้ เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวไปสู่ Industry 4.0

จันทร์ ๐๔ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๓:๓๐
โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบายOne Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI (โอ-ปอย) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้และนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวสู่ ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ OPOAI ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทางสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการภาคใต้ 2 แห่ง ประกอบด้วย

1. เข้าเยี่ยม บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 45/6 หมู่ 6 ถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน

2. เข้าเยี่ยม บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 190 หมู่ 11 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000 ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตเห็ดทอด ผักทอดต่างๆ และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการโอ-ปอย ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนา ที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. แผนงานการบริการจัดการโลจิสติกส์ 2. แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. แผนการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. แผนการลดต้นทุนพลังงาน 5. แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด 7. แผนการบริหารจัดการด้านการเงิน และ 8. แผนการจัดการสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อดูว่าสมควรที่เข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งคำปรึกษาเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยประมาณ 4-6 เดือนจึงจะ เสร็จสิ้นโครงการ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2559 ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี สามารถ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานประกอบการโดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 326 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา 31.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 10.32 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 135 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ยรายละ 2.41 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2559 สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 4,455 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 354.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.56 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,334 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 3.34 ล้านบาท

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเอง อาจจะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องนั้นเป็นการเฉพาะจุดจริงๆ

สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการจำนวน 171 ราย จำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยในวันนี้ได้มีการเยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด จังหวัดสงขลา และ บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด จังหวัดพัทลุง ทั้ง 2 รายเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายวีรพัฒน์ ปรางค์ศรีทอง ผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจประเภทอุสาหกรรมอาหาร ผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน สำหรับบริษัทเริ่มต้นธุรกิจในปี 2558 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนในประเทศ มียอดจำหน่าย 500,000 ถุงต่อปี (เมื่อปี 2558) โดยมีตลาดในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5% โดยนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอินโดนีเซีย 80% ภายในประเทศ 20% มียอดขาย 3,385,000 บาท/ปี เข้าร่วมโครงการ โอ-ปอยในปี 2560 จำนวน 2 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนางาน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพบว่า การปรับตั้งค่าน้ำหนักเกินของเนื้อเฉาก๊วยบรรจุและน้ำเชื่อมมากเกินไป ทำให้ไหลลงในการบรรจุปริมาณมาก และสาเหตุที่เนื้อเฉาก๊วยมีขนาดใหญ่เกินไปในขั้นตอนการตัด ซึ่งทีมงานได้ทำการแก้ไข และลดค่าปรับตั้งน้ำหนัก และปรับตั้งค่าเนื้อเฉาก๊วยที่ 90 กรัม โดยเฉลี่ยล่าสุดน้ำหนักบรรจุรวมอยู่ที่ 193 กรัม และสามารถบรรจุได้เพิ่มขึ้นประมาณ 200 ถุงต่อวัน สามารถลดต้นทุนได้มูลค่า 378,000 บาท/ปี หรือ 14% นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงปัญหาถุงแตกขณะซีล แก้ไขโดยปรับลดความเร็วในการซีลลง ซึ่งสามารถลดความสูญเสียได้มูลค่า 127,800 บาท/ปี รวม 2 กิจกรรมสามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการได้ 505,800 บาท/ปี

แผนงานที่ 4 ลดต้นทุนพลังงาน โดยจัดทำโครงการลดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำเย็น ตั้งค่าอุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้นจาก 10 องศาเซลเซียส เป็น 15 องค์ศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงจะได้อุณหภูมิน้ำเชื่อมที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งทันต่อการสั่งซื้อในแต่ละวันเฉลี่ย 15,000 ถุงต่อวัน ทำให้ลดพลังงานของ Chiller เท?ากับ 35,164.80 บาท/ปี ทำใหลดพลังงานไฟฟ้าลงได้ 13.89% และลดเวลาการทำงานของ Boiller ให้มาอยู่ที่ 15 นาที ทำให้ประหยัด 24.55 กิโลกรัม/ครั้งหรือเท่ากับ 537 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่ารวม 193,331.025 หรือลดลง 33.98% รวม 2 กิจกรรมสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการได้ 228,496.05บาท/ปี

นายชัยยงค์ คชพันธ์ ผู้จัดการบริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอด และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป Delong กาแฟข้าว ดำเนินกิจการในปี 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มียอดขายผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอดรวมในปี 2559 เท่ากับ 7,800,000 บาท ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ขายว่าจ้างผลิต 90% ขายให้ผู้บริโภคโดยตรง 10% โดยจำหน่ายในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5% โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด โดยเลือกเข้าโครงการโอปอยใน 2 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เลือกปรับปรุงสินค้าเห็ดนางรมทอด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุด และจากการวิเคราะห์พบว่า เดิมไม่ได้มีการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่จะนำมาทอด และการตั้งความแรงของแก๊สจะต้องอาศัยความชำนาญของพนักงาน เพื่อให้สามารถทอดเห็ดให้สุกได้พอดี และเพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน จึงกำหนดให้มีการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบก่อนนำมาทอด ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อลดเวลาในกระบวนการทอดให้สั้นลง และเปลี่ยนหัวเตาแก๊ส เป็นKB-10 ซึ่งกำลังการผลิตก่อนปรับปรุงมีกำลังการผลิต 31,663.99 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่า 2,533,119.05 บาท/ปี หลังการปรับปรุง 35,809.02 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่า 2,864,721.49 บาท/ปี สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ได้คิดเป็นมูลค่า331,602.43 บาท/ปี หรือเพิ่มขึ้น 11.58 %

ในแผนงานที่ 6 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด สำหรับกาแฟสำเร็จรูป Delong อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จากการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น มีการประชาสัมพันธ์น้อย โดยเฉพาะช่องทางผ่านระบบออนไลน์ ไม่มีเว็บไซต์ ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย ขาดการกำหนดกลยุทธ์ และมียอดขายที่ลดลงกว่า 30% แต่ภายหลังมีมาตรการปรับปรุง โดยทำประชาสัมพันธ์ผ่านภาพยนตร์ "มหาลัยวัวชน" ที่เป็นกระแสของคนภาคใต้ นำผลิตภัณฑ์เข้าจำหน่ายที่ไปรษณีย์ และสร้างการรับรู้ของกาแฟ ข้าวสังข์หยดไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำ Clip ผ่าน Facebook และ YouTube ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 2,623,316 บาท หรือเพิ่มขึ้น 13.52 %

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025