กรม สบส. แนะประชาชนใช้หลักปฏิบัติ 5 ข้อ เป็นยันต์กันอันตรายจากสัตว์มีพิษหลังน้ำลด

ศุกร์ ๐๘ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๑:๔๗
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ห่วงประชาชนประสบอันตรายจากสัตว์มีพิษหลังน้ำลด แนะยึดหลักปฏิบัติ 5 ข้อเป็นยันต์กันอันตรายจากสารพัดสัตว์มีพิษ พร้อมย้ำให้สร้างนิสัยรักความสะอาดป้องกัน งู ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ หวนกลับเข้าบ้าน

นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบรากรสขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงกลางเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศมีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประชาชนต้องอพยพออกจากที่พักอาศัยเป็นการชั่วคราว แม้ในขณะนี้หลายแห่งสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว ประชาชนเริ่มทยอยกลับเข้าที่พักอาศัย แต่การกลับมาครั้งนี้อาจจะไม่ปลอดภัยเหมือนก่อน เพราะนอกจากจะต้องระวังอันตรายจากไฟฟ้าดูด และเชื้อโรคที่มากับน้ำ ยังมีอันตรายอีกประเภทหนึ่งซึ่งมักจะมาพร้อมกับน้ำท่วมเป็นประจำ คือ อันตรายจากสัตว์มีพิษซึ่งหนีน้ำมาหลบซ่อนในที่พักอาศัย เนื่องจากน้ำที่ท่วมสูงทำให้สัตว์ต่างๆ รวมถึงสัตว์มีพิษอาทิ งู ตะขาบ และแมงป่อง ฯลฯ ที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมของตน ต้องอพยพหนีเข้ามายังพื้นที่บ้านเรือน แต่หลังจากน้ำลดสัตว์มีพิษเหล่านี้ก็มักจะไม่กลับไปยังพื้นที่เดิมของตนแต่กลับหลบซ่อนอยู่ในบ้านเรือนแทน

นายแพทย์ประภาส กล่าวต่อว่า ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษที่แอบแฝงอยู่ในบ้านเรือนของประชาชน กรม สบส.ขอแนะประชาชนให้นำหลักปฏิบัติ 5 ข้อ ไปใช้เป็นยันต์กันสัตว์มีพิษ ซึ่งประกอบด้วย 1.ก่อนการเก็บกวาด หรือทำความสะอาดบ้านเรือนให้สวมถุงมือยางและรองเท้าบูท ป้องกันสัตว์มีพิษกัด 2.หาไม้ยาว หรือท่อพลาสติก เคาะไปตามพื้นหรือตามกองวัสดุให้ทั่วทุกซอกในบ้านทุกซอกมุมโดยเฉพาะในห้องครัว ห้องน้ำ และห้องเก็บของที่อยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สัตว์มีพิษที่หลบซ่อนอยู่หนีออกจากที่ซ่อน 3.ซ่อมแซมจุดแตกร้าว รอยต่อหรือซอกหลืบที่เกิดจากการทรุดตัวของดินไม่ให้เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษ 4.หลีกเลี่ยงการเก็บกวาด หรือทำความสะอาดในเวลากลางคืนถ้าแสงไฟไม่เพียงพอ แต่หากมีความจำเป็นให้ใช้ไฟฉายช่วยเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษ และ 5.หากพบงูให้ค่อยๆถอยออกมาช้าๆ ไม่ควรตีหรือพยายามจับงูด้วยตนเอง ซึ่งตามปกติแล้วงูมักจะไม่เข้ามาทำร้ายถ้าไม่ถูกรบกวน หากอยู่ในเขตกทม.ให้รีบแจ้งที่สายด่วน 191 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือสายด่วน 199 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร แต่หากอยู่ในส่วนภูมิภาคให้แจ้งที่สายด่วน 191 หรือหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ เพื่อดำเนินการจับงูไปปล่อยในพื้นที่ๆเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการทำความสะอาดอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุมของตัวบ้านแล้ว แต่หากไม่มีการป้องกันสัตว์มีพิษเหล่านี้ก็สามารถกลับเข้ามากบดานในบ้านเรือนได้แม้ไม่มีเหตุน้ำท่วม จึงควรรักษาความสะอาดบริเวณบ้านอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย อย่าให้มีพื้นที่ๆมีการกดทับของสิ่งของ อาทิ ก้อนหิน กระถางต้นไม้ หรือโพรงดิน หากมีการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน ควรตัดแต่งให้ไม่ให้รกรุงรังพร้อมกับกำจัดเศษใบไม้ ใบหญ้าทุกครั้ง ไม่ควรกองทิ้งไว้เพราะจะทำให้เป็นที่อาศัยของสัตว์และแมลงมีพิษได้ เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มักจะอาศัยอยู่ตามที่เย็นเพื่อหลบซ่อนความร้อนจากดวงอาทิตย์และออกหากินในเวลากลางคืน และให้ทิ้งเศษขยะ/เศษอาหาร ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูและแมลง ซึ่งจะเป็นการสร้างห่วงโซ่อาหารให้งู ตะขาบ และแมงป่องได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO