รอสอะตอม และไคเนติคส์ ร่วมก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนในประเทศไทย

จันทร์ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๐:๐๙
บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม ซึ่งเป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซีย และบริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีกัมมันตรังสีสำหรับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน)

โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ด้วยเนื้อที่มากกว่า 5400 ตารางเมตร มีเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยสำหรับใช้ผลิตเภสัชภัณฑ์รังสี เพื่อพัฒนาทางการแพทย์และเป้าหมายอื่นๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีรังสีและนวัตกรรม ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเริ่มต้นทำงานได้ภายใน 3.5 ปี

ดร. สมชาย เอื้อพิพัฒนากูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทไคเนติคส์กล่าวว่า "ปัจจุบันไอโซโทปทั้งหมดของ SPECT ในประเทศไทยถูกนำเข้าจากต่างประเทศ โดย ไอโซโทป PET บางชนิดสามารถผลิตได้ในโรงพยาบาลในประเทศไทย แต่ปริมาณที่ได้ยังคงไม่เพียงพอ ดังนั้นเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรอนใหม่ที่จัดหาโดยบริษัทหุ้นส่วนรัสเซียของเรา จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตไอโซโทปได้เองเพื่อใช้ช่วยชีวิตและพัฒนานวัตกรรมในประเทศของเรา" ดร. สมชาย เอื้อพิพัฒนากูล กล่าวต่อไปว่าโครงการนี้จะช่วยการวิจัยและพัฒนาทางด้านการแพทย์นิวเคลียร์และการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

เครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคตรรอน MCC-30/15 ที่มีกำลัง 30 MeV ที่รอสอะตอมก่อสร้าง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ดังกล่าว เครื่องนี้จะใช้ในการผลิตไอโซโทป PET และ SPECT สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เนื้องอก และระบบประสาทที่ถูกต้อง ในหลายๆ กรณี การใช้ไอโซโทป PET และ SPECTเป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยกำหนดการรักษาที่เหมะสม

"เรารู้สึกเป็นเกียรติสำหรับความไว้วางใจจากคู่ค้าชาวไทยและลูกค้าของเราในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์รัสเซียของรอสอะตอมซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมากกว่า 70 ปี รวมถึงการออกแบบและการผลิตโซลูชั่นยารักษาโรคด้วยนิวเคลียร์โดยมีโรงงานผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี 14 แห่งในประเทศรัสเซีย" นายอิกอฟ ซีมอนอว หัวหน้าของรอสอะตอมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

การอ้างอิง

บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม เป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซียที่มีประสบการณ์มากกว่า 70 ปีในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ประกอบด้วยสถาบันและบริษัทอุตสาหกรรมนิวเคลียร์มากกว่า 350 แห่ง เป็นบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการก่อสร้างโรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ระดับโลก ตั้งแต่การเสริมสมรรถนะยูเรเนียมจนถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ด้วยการเอาใจใส่ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จากรายงานประจำปี บริษัท รอสอะตอม มีการลงทุนด้านโครงการวิจัยจะพัฒนาคิดเป็น 4.5% เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซียได้ถูกใช้ในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์วิจัยมาแล้วมากกว่า 120 แห่งทั่วโลก

สำนักงานของรอสอะตอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยให้การช่วยสนับสนุนการทำงานของบริษัทรอสอะตอมในภูมิภาคนี้ให้ทำงานได้อย่างประสบผลสำเร็จ

บริษัทไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่นจำกัดจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยมีเป้าหมายเป็นผู้บริการโซลูชันครบวงจรในสาขาวิศวกรรมและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีประสบการ์ทำงานมากกว่า 30 ปี ในตลาดซึ่งได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในภาครัฐและเอกชน การก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 ของบริษัทไคเนติคส์คอร์ปอเรชั่นจำกัดยังคงมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาที่ดีที่สุดในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version