ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นประธานเปิดการประชุม การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 โดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการกำหนดกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงาน และมอบหมายให้คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำประเด็นสาระและข้อคิดเห็นไปวิเคราะห์ให้ครอบคลุมในมิติต่างๆ เช่น ด้านกฎหมาย บุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ การตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ เป็นต้น และดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมไม้เศรษฐกิจครบวงจรให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๔) กำหนดการยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ ๔๐ของพื้นที่ประเทศ โดยจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์ร้อยละ ๒๕ และป่าเศรษฐกิจร้อยละ ๑๕ ประกอบกับนโยบาย "พลิกพื้นผืนป่าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ของรัฐบาลปัจจุบันกำหนดมาตรการการเพิ่มฟื้นที่ป่า/พื้นที่สีเขียวและแนวทางปฏิบัติด้านการฟื้นฟูสภาพป่า ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ และสามารถตัดขายได้รวมถึงส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่หน่วยราชการ ปัจจุบันยังขาดพื้นที่ป่าเศรษฐกิจอีกประมาณกว่า ๒๐ ล้านไร่ ประกอบกับการต้องการใช้ไม้ภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๗ มากถึง ๕๘ ล้านตันและคาดการณ์ความต้องการใช้ไม้เพื่อประโยชน์ในภาคครัวเรือน และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๕๖ ล้านต้น ภายใน 19 ปี (พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. ๒๕๗๙ ) ซึ่งยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจรคาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจในที่ดินของรัฐและที่ดินนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ (Tree outside forest : TOF) ได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
ด้านนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวเสริมในปัจจุบันมีความต้องการใช้ไม้ในเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบ 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) เพื่อผลิตเป็นเยื่อกระดาษ (2) เป็นไม้ชิ้นสับเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และ (3) เพื่อใช้ในรูปแบบพลังงานทดแทน ซึ่งจากการศึกษาความต้องการใช้ไม้ทั้ง 3 รูปแบบ ต่อปีมีปริมาณความต้องการประมาณ 58 ล้านตันต่อปี ดังนั้น ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ กรมป่าไม้ สามารถกำหนดทิศทางการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจให้กับเกษตรกรที่สนใจและหันมาให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นอาชีพหลักแทน ซึ่งทั้งนี้ กรมป่าไม้ ยังกำหนดแนวทางทั้งด้านการส่งเสริม การตลาด และอำนวยความสะดวกในการขออนุญาตต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกไม้เศรษฐกิจอีกด้วย