ผลการดำเนินงานงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สำนักบริหารยุทธศาตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

พฤหัส ๑๔ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๐:๐๒
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 เป็นกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก ประกอบด้วย 4 จังหวัด (1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) จังหวัดปทุมธานี (3) จังหวัดนนทบุรี (4) จังหวัดสระบุรี

ดำเนินงานโดย ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด) นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และ นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 มีพื้นที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นศูนย์กลางคมนาคมเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่างๆทั้งภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก มีพื้นที่ติดกับกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา และนิคมอุตสาหกรรมจำนวนหลายแห่งทำให้เป็นพื้นที่น่าลงทุนและสะดวกต่อการท่องเที่ยว

สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ได้บูรณาการร่วมกันทั้ง 4 จังหวัดในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี การกระจายรายได้สู่ชุมชน ภาคธุรกิจมีความสามารถการแข่งขันระบบนิเวศมีความสมดุลยั่งยืน ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 353,960,300 บาท (สามร้อยห้าสิบสามล้านเก้าแสนหกหมื่นสามร้อยบาทถ้วน) เพื่อดำเนินการครอบคลุม 3 ด้าน ดังนี้

1. การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ ได้แก่

(1). พัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

(2). พัฒนาพื้นที่ศูนย์บริการการท่องเที่ยว

(3). ซ่อมผิวทางเส้นทางคมนาคมนำสู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่

ผลที่ได้รับ คือ เพิ่มจำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยว และสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว

2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการบริโภค และผลิตอาหารปลอดภัย ได้แก่

(1). พัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชนและส่งเสริมอาหารโบราณของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1

(2). พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผลผลิตของผู้ประกอบการเกษตรระดับชุมชน จัดงานมหกรรมสินค้าเกษตรเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด และเพิ่มศักยภาพการผลิตและการแข่งขันขององค์กรเกษตร

ผลที่ได้รับ คือ พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนและพืชปลอดสารพิษ ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร กลุ่มอาชีพและเกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น และให้ผู้ผลิตสินค้าในท้องถิ่นได้พบกับผู้ซื้อโดยตรง

3. ฟื้นฟูคุณภาพระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก ได้แก่

(1). พัฒนาลำคลองต่อเชื่อมแม่นำสายหลัก อาทิ การก่อสร้างท่อระบายน้ำ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง การปรับปรุงอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว – เสาไห้ เชื่อมโยงกับแม่น้ำป่าสัก

(2). พัฒนาระบบเฝ้าระวังและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง

(3). การติดตั้งตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(4). เพิ่มความหลากหลายของสัตว์น้ำในท้องถิ่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก

ผลที่ได้รับ คือ ระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำสาขาได้รับการดูแลฟื้นฟูและรักษาสภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพที่เหมาะสม

ความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ที่ร่วมกันคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 จะสานต่อและพัฒนาการดำเนินการเชิงบูรณาการในมิติกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานและยุทธศาสตร์ในระดับชาติต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version