Escape เป็นความปรารถนาที่เรารู้สึกในบางช่วงของชีวิต ในรูปแบบนามธรรม ความรู้สึกส่วนตัวที่เราต้องการการตอบสนอง ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการบางสิ่ง, ความรู้สึกบางอย่าง, การที่รู้สึกบางอย่างต่อบางสถานที่และการตอบสนองนั้นๆ และเหนือความรู้สึกหนักใจเหล่านั้น คือความคิดที่ว่าไม่มีทางออกที่แท้จริง
การใช้ภาพถ่ายแทนการวาดภาพทำให้ วอน ซวาท์ซ สามารถแสดงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่มีอยู่จริง ทำให้เกิดความขัดแย้ง ที่เป็นส่วนสำคัญของงานศิลปะของเขา
พื้นที่ เป็นหัวข้อสำคัญที่พูดถึงในทฤษฏีทางวัฒนธรรมของปัจจุบัน แต่ทว่าส่วนใหญ่ได้อ้างอิงถึงพื้นที่ในแนวคิดของนิวตัน แต่ตัวงานจากจินตนาการของมาเซโล่นั้น ใช้มุมมองของสถาปัตยกรรมแบบบรรยาย(narrative architecture) เหมือนปิราเนซิ (Giovanni Battista Piranesi) ที่แสดงถึง "จินตนาการ และ สิ่งสมมุติ "
ด้วย "Escape" ศิลปิน ได้บุกเบิกการเล่าเรื่องด้วยภาพผ่านทางขอบเขตที่เป็นไปไม่ได้เหล่านี้ สานต่อแนวคิดเก่าแก่ของสถาปนิก นักคิด จากสมัยลีโอนาร์โดไปจนถึงปิราเนซิสู่การทดลองของอาร์คิแกรม(Archigram) และเลบเบียส วูดส์ (Lebbeus Woods)
งานของวอน ชวาท์ซยังมีแรงบันดาลใจมาจากการเล่าเรื่องแบบคอร์เค ลุยส์ บอร์เคส(Jorge Luis Borges) ตามที่บอร์เคสเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า "จิตใจเป็นผู้ฝันแต่โลกนี้คือฝันของจิตใจ"("The mind was dreaming but the world was its dream")