กรมบัญชีกลางออกหลักเกณฑ์ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

พฤหัส ๑๔ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๒:๑๙
กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป

นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP)" กรมบัญชีกลางจึงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน สถานพยาบาลของเอกชนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2560 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2560

ทั้งนี้ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่ไหนก็ได้ที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก และหากต้องเข้ารับการรักษาเกินกว่า 72 ชั่วโมง ให้ทดรองจ่ายในส่วนที่เกินกว่า 72 ชั่วโมงไปก่อน แล้วนำใบเสร็จเบิกกับต้นสังกัดในภายหลัง โดยการเบิกค่ารักษาพยาบาลจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1.กรณียังไม่พ้นภาวะวิกฤต และไม่สามารถย้ายไปโรงพยาบาลของรัฐได้ จะเบิกได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริง 2.กรณีพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายกลับไปยังโรงพยาบาลของรัฐได้แล้ว แต่โรงพยาบาลของรัฐไม่มีเตียงรองรับนั้น กรมบัญชีกลาง

จะให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท ทั้ง 2 กรณี อนุญาตให้เบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ได้ในอัตราของทางราชการ หากแพทย์วินิจฉัยว่าพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายไปยังโรงพยาบาลรัฐได้ แต่ปฏิเสธการย้าย ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากพ้นภาวะวิกฤตเอง

โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวต่ออีกว่า สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) และผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท และสามารถเบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ได้เช่นเดียวกับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ โดยนำใบเสร็จและใบประเมินผลคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินมาเบิกกับต้นสังกัดในภายหลัง ซึ่งในกรณีฉุกเฉินนั้นจะต้องเป็นผู้ป่วยที่บาดเจ็บ หรือป่วยกะทันหัน และต้องผ่านการพิจารณาจากระบบคัดแยกของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จึงสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน จะไม่รวมการนัดมาตรวจรักษาพยาบาล หรือการนัดมาทำหัตถการ

นางสาวอรนุช กล่าวในตอนท้าย การกำหนดหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวจะได้รับ และเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณด้านสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเหมาะสม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION