อนาคตประเทศไทยกับสังคมสูงวัย มุ่งขับเคลื่อน Aging 4.0 สู่ Thailand 4.0

ศุกร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๑๗ ๐๘:๕๘
ในงาน "15 ปี ธนาคารสมอง พลังอาสาพัฒนาประเทศ" นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "อนาคตประเทศไทยกับสังคมสูงวัย" ณ โรงแรมเซนทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาไท โดยมี กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมอภิปรายเพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงริเริ่มแนวคิดธนาคารสมอง ร่วมพัฒนาประเทศ และเพื่อเผยแพร่บทบาทการดำเนินงานธนาคารสมองผ่านรูปธรรมเชิงประจักษ์ ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564) ให้วุฒิอาสาธนาคารสมองและภาคีเครือข่ายต่างๆ เห็นถึงความสำคัญและสามารถเชื่อมโยงสู่แนวทางการขยายบทบาท พร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าปัจจุบันธนาคารสมอง มี วุฒิอาสา กว่า 4,000 คน ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของแผ่นดิน ด้วยการทำความดีเพื่อผู้อื่น ส่งต่อความรู้และประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น และส่งต่อหลักความคิดที่ถูกต้องให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแบบในศตวรรษที่ 21 ความร่วมมือของวุฒิอาสาและธนาคารสมอง คือ พลังสำคัญที่จะทำงานอย่างบูรณาการและเป็นเครือข่ายร่วมกับภาคีการพัฒนาในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำความเข้าใจและเข้าถึงการพัฒนานั้นจำเป็นต่อโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกแห่งความสุดโต่ง โลกแห่งความย้อนแย้ง และโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามโลกศตวรรษที่ 21 นั้น คือ 1.วัฒนธรรมในการเรียนรู้ ที่ต้องมีการเรียนรู้มากขึ้น เรียนรู้ตลอดชีวิต และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลง 2.วัฒนธรรมการดำรงอยู่ของมนุษย์ การรู้จักแชร์ความรู้จากการสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ถือเป็นพลังมหาศาลที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทย ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้น เป็นการรื้อฟื้นสังคมไทยในอดีตที่มีการเกื้อกูลและแบ่งปันกันกลับมา และ3.วัฒนธรรมการทำงาน การเรียนรู้ที่ขาดคนสอน และขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมากกว่าเรียนรู้กับคน นอกจากนี้ประเทศไทยยังเผชิญกับดักเชิงซ้อนของมนุษย์ คือ ปัญหาเชิงพื้นฐานที่มีผู้สูงวัยเยอะ แต่โครงสร้างของสังคมและคุณภาพคนอ่อนด้อย ปัญหาสำคัญ คือ คุณภาพคนมีโอกาสแย่ลงและมีผู้สูงวัยมากขึ้น (ปัญหาเชิงซ้อน) จึงต้องปรับทัศนคติคนกับผู้สูงวัยใหม่

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ในอนาคตไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ด้วยโครงสร้างประชากรของไทยในปีพ.ศ.2560 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 17%, ปีพ.ศ.2564 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 20%, ปีพ.ศ.2569 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 24% และปีพ.ศ.2579 มีผู้สูงอายุเพิ่มถึง 30% ซึ่งประเด็นโครงสร้างจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก ทุกคนจึงต้องตระหนักถึงและช่วยกันเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ยังอยากทำงาน กำลังคนของประเทศไทยมีทั้งหมด 65.729 ล้านคน โดย 40.3% ของผู้สูงอายุทั้งหมด หรือ 7% ของคนไทยรวมทั้งประเทศ หรือ ผู้สูงอายุ 4.7 ล้านคน ยังคงทำงานอยู่ในปัจจุบัน ส่วน 59.7% ของผู้สูงอายุทั้งหมด หรือ 10% ของคนไทยทั้งประเทศ หรือ ผู้สูงอายุ 6.97 ล้านคน เกษียณอายุ สูงวัยมากไม่สามารถทำงานได้ สูงวัยและพิการ สมัครใจไม่ทำงาน และบางส่วนอยากทำงานแต่หางานทำไม่ได้ จุดนี้จึงควรเสริมทางเลือกให้กับผู้สูงวัย ด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงวัย, ส่งเสริมทักษะ เช่น เรื่องดิจิตอล อิเล็กทรอนิค และขยายอายุเกษียณ เพื่อแก้ปัญหาแรงงานหดตัว อีกทั้งทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยมีชีวิตชีวาเป็นทรัพย์สินของสังคม อย่างไรก็ตามมีผู้สูงวัยบางกลุ่มไม่ได้ต้องการเงิน แต่อยากทำงานเพื่อสังคม ตรงนี้ต้องเตรียมพร้อมและช่วยเหลือผู้สูงวัยเหล่านี้ให้มีส่วนร่วมกับสังคม และมีผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน อายุ 40-50 ปี หรือ ผู้ที่จะเข้าสู่อายุสูงวัย (Young Old) ทำอย่างไรให้กลุ่มดังกล่าวเป็น Pro Active พร้อมที่จะเป็นผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ และมีส่วนร่วมกับสังคม

ปัจจุบันประชากรไทยเกิดน้อย อายุยืนมากขึ้น คนทำงานน้อย และยังไม่รวย จึงต้องมองอนาคตประเทศไทยกับผู้สูงวัยถึงความท้าทายและโอกาส ประเทศไทยเผชิญความท้าทายสำคัญ คือ การขาดแคลนแรงงานคุณภาพ, ปัญหาแรงงานที่ดึงตัว เนื่องจากในอีก 20 ปีข้างหน้า คนวัยทำงานอาจลดลง 5.7 ล้านคน, ประเทศไทยจะต้องเพิ่มผลิตภาพแรงงานมหาศาล เพื่อชดเชยกำลังแรงงานจำนวนมากที่หายไป ยกระดับสู่ประเทศรายได้สูง, การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) และบุคลากรทักษะสูง (Talents) และการสร้างความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ ไม่ให้ยากจน หรือ เกษียณไม่พอกิน ส่วนโอกาสจากสังคมสูงวัย คือ ตลาดผู้สูงอายุ (Silver Market) เติบโตมากขึ้นทั้งในไทยและทั่วโลก และมี demand สูงในสินค้าบริการต่างๆ อาทิ บริการเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุ ระบบอัตโนมัติ สุขภาพและความปลอดภัย ที่อยู่อาศัย และการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น เมื่อทุกคนระดมสมองและช่วยกัน สังคมผู้สูงอายุจะมีพลัง และจะเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง เกิดความมั่นคงของผู้สูงอายุ

ดังนั้น ทิศทางอนาคต 20 ปีที่พึงประสงค์ ช่วงก่อนสูงวัย (Pre Aging) คือการเตรียมตนเองสู่สังคมสูงวัยที่มีคุณภาพและเป็นผู้สูงอายุอย่างตื่นรู้ (Active Aging) โดยเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่ Smart Home เป็น Smart City และเป็นผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม (Engaged Aging) เปลี่ยนจากผู้สูงอายุอย่างเฉื่อยชา (Passive Aging) พร้อมที่จะสร้างความสมดุลให้แก่ผู้สูงอายุ ภายใต้ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง

ทั้งนี้ เรื่องของนโยบายยังคงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดและระดมสมองช่วยกัน Thailand 4.0 ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของคนรุ่นใหม่ แต่ยังต้องรวมถึงผู้สูงอายุ จะต้องมี Aging 4.0 การสูงอายุไปอย่างมีประสิทธิภาพ ชราอย่างมั่นคงและยั่งยืน วุฒิอาสาและธนาคารสมองเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อน Thailand 4.0 และเป็นตัวอย่างของ Active Aging ที่แม้มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว แต่ยังอยู่ในกำลังแรงงาน เน้นการทำงานที่ยืดหยุ่น สร้างประโยชน์แก่สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการนำประสบการณ์ที่มีมาช่วยพัฒนาคนไทยและประเทศของเรา

นายธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ กรรมการมูลนิธิพัฒนาไท กล่าวถึงบทบาทวุฒิอาสาธนาคารสมองกับไทยแลนด์ 4.0 ว่า กระบวนการคิดที่สำคัญในการหาทางออก คือ การมองสถานการณ์ของสังคมในภาพรวมด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกและของสังคม ซึ่งต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงด้วยความเข้าใจ ยอมรับ และจัดการให้ถูกต้อง โดยปัจจุบันมีปัญหาสำคัญในเรื่อง 1.หารายได้เข้าประเทศไม่ได้ เนื่องจากแรงงานหมดศักยภาพ สินค้ามีราคาสูง และผู้สูงวัยถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศจึงจำเป็นต้องอาศัยคนเหล่านี้หารายได้เข้าประเทศ และ2.ความไม่เท่าเทียมที่มาจากช่องว่างของรายได้ คนรวยกระจุกตัวรวมกัน ส่วนคนจนนั้นกระจายตัวจึงจำเป็นต้องสร้างการเรียนรู้ และเสริมทักษะให้แก่คนจน เพื่อสามารถสร้างอาชีพที่จะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ และช่วยเหลือตนเองได้ โดยเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ยั่งยืนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่