'สุชชัวีร์’ ขึ้นเวทีระดับโลก ตั้งเป้า 5 ปี สร้าง “มหาวิทยาลัยดิจิทัล” เต็มรูปแบบครั้งแรกในไทย ย้ำชูจุดเปลี่ยนบทบาทสถาบันการศึกษาในไทย เพื่อรับนโยบาย Thailand 4.0

ศุกร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๕:๔๓
· ทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัยคือการเรียนรู้! "สจล. จับมือเอกชนยักษ์ใหญ่จีนพัฒนาโครงข่ายเน็ตเวิร์คในสถาบันการศึกษาที่ทันสมัยที่สุด พร้อมเตรียมผุดอินเตอร์เน็ต 100G ครั้งแรกในมหาวิทยาลัยไทย รับ Education 4.0

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ขึ้นเวทีใหญ่ระดับโลก Huawei Connect 2017 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เผยแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทย คือการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University)เต็มรูปแบบ อันประกอบไปด้วย การพัฒนาโครงข่ายคอมพิวเตอร์และเน็ตเวิร์คให้พร้อมสู่การเรียนแบบ Education 4.0 อำนวยความสะดวกให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร สามารถเชื่อมสู่โลกออนไลน์เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้จริง โดยเชื่อมั่นว่าแนวทางดังกล่าวถือเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถช่วยให้นโยบาย Thailand 4.0 ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน พร้อมระบุเป้าหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี โดยล่าสุดได้จับมือบริษัทเอกชนชั้นนำของโลก เตรียมนำร่องสร้างเทคโนโลยีและอินฟราสตรัคเจอร์จำนวนมากที่สมบูรณ์แบบที่สุดในมหาวิทยาลัยไทย อาทิ โครงข่ายส่งถ่ายข้อมูลที่ความเร็ว 100 กิกะบิตต่อวินาที ไวไฟ 3,000 จุด และศุนย์ข้อมูลบิ๊กดาต้าออนคลาวด์ ฯลฯ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้รับเกียรติเป็นตัวแทนผู้บริหารสถาบันการศึกษาไทย ขึ้นกล่าวบนเวที Huawei Connect 2017 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยอันถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ให้บรรลุผลสำเร็จ เนื่องจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาก้าวไกลในปัจจุบัน ส่งผลให้สถาบันการศึกษาซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะและผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ ไม่สามารถหยุดนิ่งอยู่กับที่อย่างในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงภายใต้นโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัย ที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้จริง สจล. ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย จึงเดินหน้าปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อการสอนอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างบัณฑิตรุ่นใหม่ที่มีทักษะและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต อันสอดคล้องกับภารกิจการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Education 4.0 พร้อมก้าวสู่เป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบภายใน 5 ปี

โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สจล. ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University)ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก ในการเปิดหลักสูตรและจัดตั้งหน่วยงานร่วมกัน รวมถึงการทำวิจัย และล่าสุดได้ขยายความร่วมมือกับบริษัทผู้นำเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่งของโลก ได้แก่ หัวเว่ย และจีเอเบิล โดยความร่วมมือดังกล่าวจะประกอบไปด้วยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สมบูรณ์แบบที่สุด ได้แก่1. 100G Based Campus Core Network ในสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ทำให้นักศึกษากว่าหนึ่งหมื่นคนในมหาวิทยาลัย สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เพื่อการเรียนการสอนแบบสตรีมมิ่งออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกัน 2. SDN (Software-defined network) for Campus and Data Center Convergence แห่งแรกในประเทศไทย คือระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงทุกเครือข่ายในมหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งเดียว และรวมความเป็น Data Center เข้ากับ Campus Network3.Educational Cloud Data Center in Container ศูนย์ข้อมูลจัดเก็บแบบบูรณาการ (All-in-one) ครั้งแรกของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย และ 4.WiFi coverage with whole campus Free Mobility เครือข่าย WiFi ที่เชื่อมต่อได้ถึงระดับกิกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัยถึง 3,000 จุด

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะพลิกโฉมวงการการศึกษาไทย ซึ่งจะช่วยยกประสิทธิภาพการเรียนการสอนในรั่ว สจล. สู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว อันสอดคล้องกับการเรียนรู้ในปัจจุบันที่ความรู้ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในห้องเรียนเท่านั้น โดยในอนาคตอันใกล้จะมีการเปิดสอนออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเรียนทางไกล จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับ สจล. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพที่มีทักษะและความสามารถด้าน ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวล้วนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันที่ต้องการผลักดันสถาบันที่แห่งนวัตกรรม หรือ "The Master Of innovation "

อย่างไรก็ตาม สจล. ได้ร่วมกับ หัวเว่ย และจีเอเบิล จัดพิธีลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์และเน็ตเวิร์คครั้งแรกในสถาบันการศึกษาไทยขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน เมื่อเร็วๆ นี้ สำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือคลิก www.kmitl.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ