กรรมการ CAT เป็นสักขีพยาน และมี ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจและบริการ CAT ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 30 อาคาร CAT Tower บางรัก
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และพัฒนาเศรษฐกิจด้านการนำเข้าและส่งออก เกิดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องตามแนวนโยบายดิจิทัล ที่มุ่งมั่นยกระดับการให้บริการด้านขนส่งให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีสำหรับทศวรรษหน้า รวมถึงเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการค้ากาลงทุนด้านโลจิสติกส์ การแลกเปลี่ยน ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมในการดำเนินการของภาครัฐและเอกชนด้วยเทคโนโลยี และระบบอินเทอร์เน็ตตามความเหมาะสม ซึ่งผลของโครงการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ รวมทั้งยังเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับระบบโลจิสติกส์ และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการนำเข้า-ส่งออกบนเวทีการค้าโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
โดย CAT ได้เตรียมนำบริการต่างๆ ที่มีมาให้การสนับสนุนภารกิจของสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ด้วยอัตราพิเศษ เพื่อให้การให้บริการโลจิสติกส์เกิดการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการยกระดับมาตรฐานของสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ให้ก้าวสู่มาตรฐานในระดับสากล และสามารถเพิ่มศักยภาพของการดำเนินงานให้ทัดเทียมในระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไป ทั้งนี้ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกัน ศึกษา ส่งเสริม แลกเปลี่ยน และพัฒนาระบบการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบด้วยโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การให้บริการเกิดประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังจะร่วมกันพัฒนาบุคลาการของแต่ละหน่วยงานให้มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากแนวทางการดำเนินงานข้างต้นจะช่วยให้สหพันธ์การขนส่งฯ สามารถบริหารจัดการต้นทุนของเหล่าสมาชิก ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านการบรรทุกและขนส่งทุกประเภท รวมถึงช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ตลอดจนยกระดับมาตรฐานและการให้บริการรถขนส่งทุกประเภท ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะได้รับบริการที่ดีและมีความปลอดภัย
ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ สหพันธ์การขนส่งแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การลงนาม MOU กับ CAT ในครั้งนี้ เป็นโครงการและแนวนโยบายต่อเนื่องของกรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการขนส่งให้เข้าสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสนองนโยบายรัฐบาลในภารกิจสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ นโยบายประชารัฐภาครัฐและองค์กรเอกชน ภาคประชาสังคมหรือประชาชน คิดร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกันนำเสนอประเด็นร่วม ลงมือปฏิบัติร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของสังคม ประเทศชาติโดยรวมทำให้การพัฒนาและการแก้ปัญหาได้สำเร็จลุล่วงร่วมกัน
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศซึ่งต้องทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการยกระดับมาตรฐานและการพัฒนายกระดับมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในกลุ่มภูมิภาคและทั่วโลก ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล สามารถที่จะช่วยลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการ ด้านโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี เช่น E-commeres , E-Payment , E-DATA (AI-IT) , E-Logisties E-Marketing . ON LINE / OFF LINE
ดร. ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจและบริการ CAT เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นการต่อยอดภายหลังจากที่ได้ดำเนินการร่วมกับกรมการขนส่งทางบกเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย CAT จะนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาร่วมพัฒนาศักยภาพในการขนส่งของสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การดำเนินงานในด้านการนำเข้า-ส่งออกเป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยจะจัดให้มีระบบในการควบคุม ติดตามและตรวจสอบที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ระบบโลจิสติกส์ดำเนินการได้อย่างเสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งกระบวนการ รวมถึงจะร่วมกันพัฒนาบุคลากรของทั้งสองหน่วยงานให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างต่อเนื่อง
"ผมเชื่อมั่นว่า การนำระบบไอทีมาช่วยให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ในครั้งนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งเสริมให้การขนส่งโดยรถทุกประเภทในระดับประเทศ สามารถเติบโตและก้าวหน้าอย่างมีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้น"