ดัชนีความเชื่อมั่นฯ สิงหาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน รับปัจจัยบวกอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่

พฤหัส ๒๑ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๓:๒๐
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) สิงหาคม 2560 จำนวน1,078 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 27.4,37.3 และ 35.3ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 47.5,14.8,12.2,14.8 และ 10.7 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 78.6 และ 21.4ตามลำดับ โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.0ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.9 ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ สะท้อนจากยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับผลดีจากการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีแนวโน้มตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อแสวงหาตลาดใหม่ๆ การลดต้นทุนการผลิตทั้งจากวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งเพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ทั้งนี้ ในด้านปัจจัยลบ พบว่าผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการส่งออก

ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 101.6 ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2560

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนสิงหาคม จากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม

โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 68.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 69.8 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก,อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร,หัตถอุตสาหกรรม เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.4 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลงได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 86.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 84.7 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ,อุตสาหกรรมหล่อโลหะ,อุตสาหกรรมอลูมิเนียม เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ101.0 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 96.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 94.6 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก,อุตสาหกรรมปิโตรเคมี,อุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ108.4 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนสิงหาคมจากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคม

ภาคกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 87.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 87.0 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวมปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแปรรูป มีคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ขณะที่ไก่สดแช่แข็งและแปรรูปมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์ขิงดอง กาแฟสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส มียอดการส่งออกไปประเทศแถบเอเชียเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดหลักมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง) อุตสาหกรรมเหล็ก (สินค้าประเภทเหล็กเส้นและเหล็กลวด มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ส่งออกไปประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกงเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถกระบะ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักยานยนต์บิ๊กไบต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลดีกิจกรรมส่งเสริมการขายจากงาน Big Motor Sale 2017 ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อรถยนต์จากตลาดยุโรป และเอเชียใต้เพิ่มขึ้น)

ส่วนอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (สินค้าประเภทกระเบื้องหลังคาลอน แผ่นฝ้าเพดานมียอดขายในประเทศลดลง หลังคาสังกะสีและหลังคาเหล็กเคลือบ มียอดคำสั่งซื้อลดลงจากกลุ่มประเทศ CLMV) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ101.8 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 73.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 71.1 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ(สินค้าประเภทเส้นด้าย เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้เพื่อผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้านการส่งออกเส้นใยสิ่งทอสำหรับผลิตเสื้อผ้ากีฬา มีคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนมีคำสั่งซื้อจากประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (สินค้าประเภทชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯและฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีการทำการตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง)ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง จากความต้องการใช้ลดลงในธุรกิจก่อสร้าง ด้านการส่งออกภาชนะบนโต๊ะอาหาร และเครื่องเคลือบมีคำสั่งซื้อลดลงจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 97.1ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 77.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 79.2 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล (น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อจากตลาดเอเชียลดลง เนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอการสั่งซื้อ) อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา และอิฐโปร่ง ที่ใช้ในการก่อสร้าง มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (อุปกรณ์การเกษตร ปั๊มน้ำ และรถไถนา มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรและส่วนประกอบ มีมีคำสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศCLMVลดลง) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (สินค้าประเภทฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และแผงวงจรมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดยุโรป) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 92.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 97.1 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 96.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 94.9 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (อุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากชิ้นส่วนยานยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อการประกอบและซ่อมแซม ด้านการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) อุตสาหกรรมเคมี (สารเคมีและเคมีภัณฑ์ มีการส่งออกไปประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น สารแอมโมเนียไนเตรท (ส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี) มียอดการส่งออกไปประเทศอินโดนีเชีย และ CLMV เพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ด้านการส่งออกเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องจักรกลบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรกลพื้นฐาน มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากญี่ปุ่นและออสเตรเลีย) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับทองคำ มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกอัญมณี เพชร พลอย มีคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง เนื่องจากลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ

ส่วน ภาคใต้ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 83.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.2 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (ผลิตภัณฑ์ยางถุงมือยางทำความสะอาด และถุงมือยางทางการแพทย์ มียอดขายในประเทศและส่งออกยังประเทศจีนและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ยางแผ่นรมควันส่งออกไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูป มียอดการส่งออกไปประเทศจีนเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจีนนิยมใช้ไม้ยางพาราจากไทยเพราะมีคุณภาพ ความทนทานมากกว่าไม้ยางพาราจากจีน) อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์และหลอดฉีดยา มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์กลุ่มสัตว์แพทย์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบมีน้อยลง เนื่องจากฝนตกส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.2 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ทั้ง 2 กลุ่ม

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ สิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 81.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 80.3 ในเดือนกรกฎาคมองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า,อุตสาหกรรมแก้วและกระจก,อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 100.0 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า เดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 96.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 96.6 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง,อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ,อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 107.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 107.3 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ในเดือนสิงหาคม 2560 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การเมืองในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนสิงหาคม คือ ต้องการให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2560 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการ SMEs เช่น ปรับลดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐใช้สินค้าจากผู้ประกอบการSMEs มากขึ้น และออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าจากประเทศจีน เช่น เหล็ก และเครื่องจักร เพื่อปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version