สพฉ. ยืนยันช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเต็มที่ พร้อมเปิดเผย 5 อาการฉุกเฉินที่เข้ารับบริการสูงสุด พบ หายใจลำบาก/ติดขัด ครองแชมป์เข้ารับริการฉุกเฉินตามนโยบายฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิ์ทุกที่

ศุกร์ ๒๒ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๒:๐๒
เรืออากาศเอกอัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึง กรณีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยอาการหอบเฉียบพลัน แต่ไม่เข้าข่ายกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ยืนยันว่า นโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) ตระหนักถึงภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสต่อการรอดชีวิต และลดโอกาสเสี่ยงต่อความพิการทุพพลภาพ หากผู้ป่วยรายใดเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤติและเงื่อนไขการบริการสามารถเข้าร่วมตามนโยบายนี้ได้ทันที

ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะ คุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันที เพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ได้แก่ 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง 3. เจ็บหน้าอกรุนแรงเฉียบพลัน 4. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็นหรือมีอาการชักร่วม 5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด 6. มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ การไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

เรืออากาศเอกอัจฉริยะ ยังกล่าวถึง ผลการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) หรือ UCEP Coordination Center ตลอด 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 31 สิงหาคม ในโรงพยาบาลเอกชน 269 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ ว่า มีสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น12,710 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 5,782 ราย ไม่เข้าเกณฑ์ 6,885 ราย และรอการประเมิน 43 ราย และในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 7,668 ราย จากสิทธิประกันสังคม 2,475 ราย จากสิทธิข้าราชการ 2,080 ราย และจังหวัดที่เข้ารับบริการมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ สมุทรปราการ ชลบุรี พิษณุโลก นนทบุรี และสมุทรสาคร

ส่วนอาการผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการมากที่สุดคือ หายใจลำบาก/ติดขัด 1,848 ราย รองลงมาคือ ป่วย/อ่อนเพลีย/ไม่จำเพาะ 1,602 ราย , แน่นทรวงอก/หัวใจ 1,412 ราย , อัมพาต/กล้ามเนื้ออ่อนแรง/สูญเสียการรับความรู้สึก 1190 ราย และ อุบัติเหตุยานยนต์ 1,079 ราย อย่างไรก็ตาม ซึ่งหากมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส สพฉ) หมายเลข 02-8721669 ตลอด 24 ชั่วโมง และหากต้องการร้องเรียนหรืออุทธรณ์ เรื่องการประเมินและการคัดแยกระดับความฉุกเฉิน หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการใช้บริการฉุกเฉิน สามารถแจ้งได้ที่ Email: [email protected] ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ โบว์ เมลดา เปิดตัว สวยปัง ขายแปลก พร้อมประมูลตัวคณิกาน้องใหม่!!
๑๗:๐๐ เขตพระนครประสานเจ้าของพื้นที่-ผู้เช่าเร่งหาข้อยุติรื้อย้ายแผงค้าตลาดส่งเสริมการเกษตร
๑๗:๐๐ กทม. กำชับ รฟม. เข้มมาตรการลดผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ล้อมย้ายต้นไม้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑๗:๑๗ คุ้ย-ทวีวัฒน์ รุกหนักตลาดหนังสยองขวัญ-เปิด 13 สตูดิโอ ยิ่งใหญ่ ไลน์อัพหนังบิ๊กโปรเจค-ดึงดาราเอลิสต์ร่วมงาน 7 เรื่อง 7
๑๗:๐๗ Zelection Interior บริการอินทีเรียดีไซน์หรู จากเอสบี ดีไซน์สแควร์ ยกระดับงานตกแต่งภายในไปอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมจากคอลเลกชันใหม่
๑๗:๔๔ SAM ยกระดับบริการ สายด่วน 1443 ตอบครบจบในเบอร์เดียว
๑๗:๕๒ บางกอกแอร์เวย์สชวนหอเจี๊ยะฉลองรับตรุษจีน เสิร์ฟเมนูมงคล ขนมหัวผักกาดกุ้ง ณ บลูริบบอนคลับเลานจ์ สนามบินสมุย
๑๗:๑๘ พิซซ่า ฮัท เสิร์ฟความฟิน Melts Fever ลดฟินเวอร์ เริ่มต้นเพียง 119 บาท
๑๗:๑๐ อิ่มอร่อยพร้อมรับโชคต้อนรับปี มะเส็ง ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับแมริออท บอนวอย ในประเทศไทย
๑๖:๐๓ บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจปัจจัยพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส ย้ำ! ลุยธุรกิจตามยุทธศาสตร์ LEO Go Green