บอร์ดบีโอไอส่งเสริม “การเกษตรสมัยใหม่” พร้อมส่งเสริมให้เพิ่มขีดแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม - การเกษตร

อังคาร ๒๖ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๓:๒๖
บอร์ดบีโอไอสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรก้าวสู่ "อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่" โดยเปิดประเภทกิจการให้ส่งเสริม คือ "กิจการผลิตหรือให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่" พร้อมส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร

นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายสำคัญหลายเรื่องภายใต้นโยบาย "ประเทศไทย 4.0" ได้แก่

1. นโยบายยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดให้การส่งเสริมกิจการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยคือ ธุรกิจที่นำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการออกแบบทางวิศวกรรมมาปรับเปลี่ยนการผลิตภาคเกษตรดั้งเดิมให้ทันสมัยขึ้น เช่น ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ระบบการควบคุมการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ ปุ๋ย และระบบตรวจจับหรือติดตามสภาพต่างๆโดยผู้ให้บริการด้านนี้จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5ปี

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคการเกษตรรายเดิมยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานสากลที่ประเทศไทยมีผู้ได้รับการรับรองน้อย เช่น มาตรฐานการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO22000) เป็นต้น เพื่อให้สินค้าเกษตรของไทยได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลและสามารถขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น โดยจะให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนที่ใช้ในการยกระดับมาตรฐาน โดยกำหนดให้ยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในสิ้นปี 2563

2. นโยบายสนับสนุนการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับผู้ประกอบการรายเดิมหรือผู้ลงทุนใหม่ที่มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนและเพื่อให้เป็นการสนับสนุนการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ในประเทศหากมีการใช้ของในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมดก็จะได้รับสิทธิเพิ่มจากเดิมจำกัดไม่เกินร้อยละ 50 มาเป็นไม่เกินร้อยละ 100

ทั้งนี้ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพข้างต้น รวมถึงมาตรการปรับปรุงประสิทธิ ภาพโดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยพัฒนา กำหนดให้ยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในสิ้นปี 2563

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มเติม โดยให้กิจการในกลุ่มA1 และ A2ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด 8 ปี สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการหากมีการลงทุนเพิ่มในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งขยายขอบเขตกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันใช้ชื่อกิจการ "สถานฝึกฝนวิชาชีพ" ให้เปลี่ยนเป็น "กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ซึ่งจะครอบคลุมเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ และสถาบันการศึกษาภาคเอกชนด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม