กยท. และ คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ระดับประเทศ ลงพื้นที่ จ.ตรัง หาแนวทางส่งเสริมใช้ยางในประเทศ มุ่งเน้น การทำถนนยางพารา

พฤหัส ๒๘ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๐:๑๗
เมื่อเร็วๆ นี้ กยท. นำโดยผู้ว่าการ กยท. พร้อมด้วยคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ระดับประเทศ ลงพื้นที่ จ.ตรัง เพื่อหาแนวทางส่งเสริมใช้ยางในประเทศ มุ่งเน้น ทำถนนยางพารา ชู อบจ.ตรัง องค์กรรัฐต้นแบบที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบหลักด้านการพัฒนาคมนาคมในพื้นที่

นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งแรกในประเทศไทยที่นำถนนยางพารามาดำเนินงานจริง และมีการตั้งงบประมาณต่อเนื่อง โดยก่อสร้างถนนด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมทบงบประมาณกับท้องถิ่นอื่นในพื้นที่อัตรา 60 ต่อ 40 ซึ่งริเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2558-2560 รวมทั้งสิ้นกว่า 120 สายทาง ได้แก่ ถนนประเภทพาราแคปซีล ที่สายหนองห้าง-มาบมวง หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำผุด เชื่อม ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง สายสระนางหงส์ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านโพธิ์ เชื่อม ตำบลน้ำผุด อ.เมืองตรัง และถนนประเภทแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายแบกพอก หมู่ที่ 6 ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรังเป็นต้น ใช้งบประมาณเกือบ 400 ล้านบาท และสามารถใช้น้ำยางพาราได้มากกว่า 200,000 กิโลกรัม เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำยางสดในจังหวัด และที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคายางพาราตกต่ำ

ด้าน ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถนนผสมยางพาราที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ได้ดำเนินการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง นับว่าเป็นองค์กรรัฐต้นแบบที่ให้ความสำคัญในการนำยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในการแปรรูปและใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก่อสร้างถนนผสมยางพารา ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพและประสิทธิภาพของถนนที่ทำจากยางพาราอย่างเป็นรูปธรรม นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการใช้ยางพาราในการทำถนน เพื่อกระตุ้นการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาท้องถิ่นอื่นๆ ยังไม่สามารถดำเนินการและผลักดันถนนยางพารามากนัก ซึ่งต้องให้กรมทางหลวงมีมาตรฐานราคากลางเป็นมาตรฐานที่รับรองมาให้ เพื่อให้หน่วยงานอื่นๆ สามารถหยิบเอาไปใช้ได้ แต่ขณะนี้มีผลการดำเนินการชัดเจน มีหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้ คาดว่า ประเทศไทยจะมีการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า จะส่งประโยชน์ทุกภาคส่วน และประโยชน์ที่สำคัญจะเกิดแก่เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิตวัตถุดิบต้นทางที่จะขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม

ดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ระดับประเทศ เผยว่า จากการลงพื้นที่ศึกษา ดูงาน จ.ตรัง ในครั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯ มีแนวทางร่วมกันว่า จะใช้โมเดลถนน จ.ตรัง เป็นตัวอย่างในการเสนอให้รัฐบาลมีการใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม เนื่องจากถนนที่มีส่วนผสมของยางพารา จะมีอายุการใช้งานที่สูงกว่ายางมะตอย 2 เท่า ในขณะที่มีต้นทุนสูงกว่ากันไม่มากนัก ตารางเมตรละ 100 กว่าบาท โดยประมาณ แต่เมื่อเทียบด้านอายุการใช้งานแล้วถือว่าคุ้มค่า และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งจะนำมติดังกล่าว เสนอยังกระทรวงคมนาคม ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO