ผศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ เล่าว่า นำเทคโนโลยีนาโน โดยใช้ "นีโอโซม" เหมือนถุงที่ค่อยห่อหุ้ม ซึ่งประกอบด้วย แรงตึงผิว และคลอเรสเตอรอล และอาจเติมใส่กรดสเตียริกลงไปเพื่อเพิ่มความคงตัวและประสิทธิภาพการกักเก็บ แต่ด้วยราคาแพงและต้องนำเข้าจากประเทศ จึงได้ค้นคว้าวิจัยและหาข้อมูล พบว่า กะทิมีสมบัติเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ที่ดี เมื่อนำมาผสมกับนีโออนุภาคเล็ก เพื่อประสิทธิภาพในการกักเก็บสารสำคัญสูงได้ถึง 80 % ซึ่งดีกว่ากรดสเตียริก นอกจากนี้ยังได้นำนีโอโซมที่พัฒนาได้ไปกักเก็บสารสกัดจากเงาะพันธุ์สีชมพู ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของ อ.ขลุง จังหวัดจันทบุรี จากงานวิจัยก่อนหน้า ซึ่งมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ กระตุ้นคอลลาเจนและลดการสร้างเมลานินเทียบเท่าได้กับกลูต้าไธโอน และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้า ซึ่งจะช่วยบำรุงให้ผิวหน้ากระจ่างใส ลดริ้วรอย ลดฝ้า กระ และจุดด่างดำ ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพผิวให้สม่ำเสมอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการซึมผ่านสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เหนียวเหนอะหนะ สามารถบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นได้ดี
"การวิจัยและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างลงตัว โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับมะพร้าว และ การใช้ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ ของเงาะพันธุ์สีชมพู ให้กับจังหวัดจันทบุรี จะช่วยลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยได้"ผศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ วิทยาลัยการแพทย์ โทร.0-2592-1999 ต่อ 1112