ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม ได้รับการยกย่องในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น ผู้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์

จันทร์ ๐๒ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๒๒
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลลส์ (The university of New South Wales - UNSW) หนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการเรียนการสอนและการวิจัยของประเทศออสเตรเลีย ได้จัดทำหนังสือแสดงผลงานของ 32 ศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันนับตั้งแต่มหาวิทยาลัยเปิดสอนมายาวนานกว่า 68 ปี โดยยกย่อง ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เป็นศิษย์เก่าเพียงคนเดียวที่สามารถคว้าเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากคณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์ของมหาวิทยาลัยไปครอง และนับเป็นคนไทยคนแรก และคนเดียวที่ดำรงตำแหน่ง Fellow ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดของสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์นานาชาติ (Fellow of the IEEE) ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Solid-State Electronics ในอันดับต้นๆ ของโลก

ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า "ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งผมถือเป็นเสมือนครอบครัวตั้งแต่ผมได้เริ่มใช้ชีวิตนักศึกษาที่นี่เมื่อปี พ.ศ. 2515 สถาบันแห่งนี้ยังคงระลึกถึงผมและมองเห็นคุณค่าของผลงานที่ผมได้สร้างสมมาจากประสบการณ์และการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์จากที่นี่ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ในคณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์ จนจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้าน Solid State Electronics โดยได้รับทุนการศึกษา Dean's Scholarship จวบจนได้ทำงาน และเป็นโอกาสให้ผมได้ใช้ประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมานำมาพัฒนาต่อยอดงานของผมเรื่อยมา และนับว่าประสบความสำเร็จในชีวิตจนถึงทุกวันนี้ และโอกาสนี้ผมขอขอบคุณที่ได้นำเสนอผลงานของผมลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยในวาระครบรอบ 68 ปี เพื่อนำไปเผยแพร่เป็นอนุสรณ์การเรียนรู้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการวิศวกรรมศาสตร์ และอิเล็กทรอนิคส์ และเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ในรุ่นปัจจุบัน และรุ่นต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดี"

นายมิค เลอ มัวก์นัน (Mick Le Moignan) นักวิชาการและนักสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์ เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ผู้เขียนบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เขียนตอนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ว่า "ปรัชญาของสิทธิชัย คือ การทำงานให้หนัก แล้วทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทางของมันเอง" ซึ่งหลักการนี้ถูกนำไปใช้อย่างจริงจังตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียน นักศึกษาในระดับชั้นต่างๆ จนถึงการทำงานในบทบาทต่างๆ จวบจนปัจจุบันนี้ และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการที่สิทธิชัยสามารถคว้าเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์ทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาเอก การก่อตั้งบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก รวมถึงการเป็น Fellow ของสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์นานาชาติ (Fellow of the IEEE) ในสาขา Circuits and Systems and Engineering Education ตลอดจนการได้รับเกียรติเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2533 ดร.สิทธิชัยได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยเป็นศาสตราจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์คนแรกที่สอนในมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป้าหมายหลักของเขาคือ การสร้างวิศวกรชั้นนำ หรือ top-class engineers ซึ่งมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับการยกระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งกว่า 70% ของนักศึกษาเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้จะอยู่ในสาขาธุรกิจการค้า วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น โดยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครแห่งนี้มีความเชื่อว่า ความรู้คือขุมพลัง การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นทั้งในด้านภาคทฤษฎี และปฎิบัติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจากนานาประเทศ อาทิ ประเทศอังกฤษ เยอรมันนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพมาตรฐานสูง

จากเป้าหมายดังกล่าว ในช่วงเปิดมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ใน 2-3 ปีแรก "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" จึงให้ทุนการศึกษาบุคลากรกว่า 120 คนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ ซึ่งบุคลากรครึ่งหนึ่งถูกส่งไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย และอีกครึ่งหนึ่งไปที่วิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาพันธมิตรอย่างเป็นทางการ "ด้วยเงินทุนที่จำกัด คุณไม่ต้องลงทุนสร้างอาคารเรียนมากมาย แต่คุณควรลงทุนในด้านบุคลากร ห้องทดลอง และห้องสมุด" ดร.สิทธิชัย เคยกล่าวไว้ ซึ่งความสำเร็จจากการลงทุนนี้แจ่มชัดยิ่งขึ้น เมื่อ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" กลายเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยแถวหน้า หรือ top-tier ที่มีความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมศาสตร์ ท่ามกลางมหาวิทยาลัยภาครัฐของไทยกว่า 12 แห่ง

บทสุดท้าย นายมิค เลอ มัวก์นัน ได้เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์เล่มนี้ว่า "คนที่รู้จักเขาดีจะบอกว่า สิทธิชัยเป็นคนที่มีความแน่วแน่และซื่อสัตย์สุจริต เขาเอ่ยถึงอาจารย์ที่มีอิทธิพลมากมายต่อชีวิตของเขาเสมอ เขามักจะพูดคุยถึงมิตรภาพอันอบอุ่นระหว่างเขากับเพื่อนร่วมรุ่นของเขา และความตั้งใจที่จะติดต่อกับเพื่อนร่วมรุ่น และศิษย์เก่าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและชุมชนของสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งน่าจะตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของการตีพิมพ์และเผยแพร่หนังสืออนุสรณ์ของมหาวิทยาเล่มนี้นั่นเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม