1. นั่งร้านไม่เพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักพื้นสะพาน
2. การประกอบติดตั้งนั่งร้านไม่ถูกต้อง
3. วัสดุที่นำมาใช้ทำนั่งร้านไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้มาตรฐาน
4. พื้นดินที่รองรับนั่งร้านเกิดการทรุดตัวลงไป
ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวต่ออีกว่าเนื่องจากสะพานที่กำลังก่อสร้างนั้น เป็นสะพานขนาดใหญ่ ที่มีช่วงยาวเกิน 10 ม. เข้าข่ายเป็นวิศวกรรมควบคุม จึงต้องมีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร เข้าไปออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
ทั้งนี้แม้ว่า ข้อสันนิษฐานสาเหตการพังถล่มเบื้องต้นอาจเกิดจากนั่งร้าน แต่ก็ยังไม่ตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไปเช่น การออกแบบ การควบคุมงานก่อสร้าง เป็นต้น โดยสภาวิศวกรจะนำคณะผู้ชำนาญการลงพื้นที่ตรวจสอบในวันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2560 นี้ และจะเรียกวิศวกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อไป