ประชาชน 77.21% ยอมรับการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ ส่งผลกระทบให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 72.95 กังวลว่าการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 81.05 แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

พฤหัส ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๒๒
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆกับการใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,198 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2560 นี้มีการทยอยประกาศปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้ไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าโดยสารเรือด่วน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประชาชนทั่วไปต้องมีรายข่ายมากขึ้น ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะออกมายืนยันว่าการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะไม่ส่งผลกระทบให้ราคาค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้น แต่ผู้คนในสังคมยังคงแสดงความกังวลว่าจะมีการปรับขึ้นราคาค่าสินค้าอุปโภคบริโภคหลังจากการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆกับการใช้จ่ายรายเดือน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.67 เพศชายร้อยละ 49.33 อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถสรุปผลได้ดังนี้ สำหรับความรับรู้เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 นี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.05 ทราบว่าในเดือนกันยายนนี้มีการปรับขึ้นราคาค่าใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 21.95 ยอมรับว่าไม่ทราบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.29 ทราบว่าในวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมามีการปรับขึ้นราคาค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.71 ที่ไม่ทราบ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.73 ทราบว่าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้จะมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการรถไฟฟ้า BTS แต่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.27 ไม่ทราบ

ในด้านความคิดเห็นต่อการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการใช้จ่ายรายเดือนนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.21 มีความคิดเห็นว่าการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายรายเดือนของตนเองให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.01 คิดว่าการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆจะมีส่วนทำให้ตนเองตัดสินใจลดการซื้อสินค้า/บริการฟุ่มเฟือยลง

ในด้านความคิดเห็นต่อการขั้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.2 ไม่เชื่อว่าหากมีการประกาศขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าไฟ ค่าน้ำ) ค่าบริการด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม) และค่าบริการด้านการขนส่งสาธารณะ (ค่าทางด่วน ค่ารถไฟฟ้า ค่าแท็กซี่ ค่ารถเมล์) เป็นต้น แล้ว ผู้ให้บริการเหล่านั้นจะยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้นได้ โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.46 เชื่อ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.34 ไม่แน่ใจ

ในด้านความคิดเห็นต่อการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการใช้จ่ายอย่างประหยัด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.44 มีความคิดเห็นว่าการประกาศขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าไฟ ค่าน้ำ) ค่าบริการด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม) และค่าบริการด้านการขนส่งสาธารณะ (ค่าทางด่วน ค่ารถไฟฟ้า ค่าแท็กซี่ ค่ารถเมล์) เป็นต้น จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมตระหนักถึงการใช้จ่ายอย่างประหยัดในชีวิตประจำวันมากขึ้นได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสี่ในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 81.05 มีความคิดเห็นว่าการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะมีส่วนช่วยทำให้ผู้คนลดผลกระทบจากการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆได้ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.95 กังวลว่าหากมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการด้านพลังงาน และค่าบริการด้านการขนส่ง เป็นต้น จะทำให้ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.54 ไม่เชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐจะสามารถควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไม่ให้มีการปรับขึ้นได้จริงหากมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการด้านพลังงาน และค่าบริการด้านการขนส่ง เป็นต้น

สำหรับความคิดเห็นต่อการชะลอปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 40.57 มีความคิดเห็นว่าควรมีการชะลอขึ้นราคาค่าบริการสาธารณูปโภค/ค่าบริการด้านการขนส่งออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี รองลงมามีความคิดเห็นว่าควรชะลอออกไปอีกอย่างน้อยหกเดือนและอีกอย่างน้อยหนึ่งปีครึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.87 และร้อยละ 18.78 ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.69 มีความคิดเห็นว่าควรชะลอออกไปอีกอย่างน้อยหกเดือน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.09 มีความคิดเห็นว่าไม่จำเป็นต้องชะลอออกไป ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO