อ้วนแล้วลด ลดแล้วอ้วน...หยุดวงจรทรมาน นิวทริไลท์แนะนำลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี...ลาขาดกันที “โยโย่”!!

พฤหัส ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๒๘
"โยโย่เอฟเฟกต์" (Yoyo Effect) กลายเป็นปัญหาหนักใจของหลายๆ คนที่พยายามลดน้ำหนัก รีดหุ่น!! เพราะลดแล้วก็กลับมาอ้วนอีก ไม่ผอมอย่างถาวร เป็นเพราะเหตุใด? ความจริงแล้วมี 3 ปัญหาหลักที่ทำให้การลดน้ำหนักไม่สำเร็จ สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) ชวนมาทำความเข้าใจกับปัญหา "โยโย่เอฟเฟกต์" กับ นพ. สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่และเตรียมพร้อมสู่การลดน้ำหนักที่ประสบความสำเร็จกันดีกว่า

"โยโย่เอฟเฟกต์ คือภาวะที่น้ำหนักตัวเด้งขึ้นๆ ลงๆ ส่วนใหญ่จบลงด้วยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจนมากกว่าก่อนเริ่มลด! หรือบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องแม้จะควบคุมอาหารหรือออกกำลังกาย ก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวเองได้ ลักษณะเหมือนกับลูกดิ่ง โยโย่(1)"

"สาเหตุหลักของโยโย่เอฟเฟกต์ คือพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง การออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง และการใช้ยาลดความอ้วน โดยเฉพาะโปรแกรมลดน้ำหนักที่ใช้การอดอาหารหรือควบคุมอาหารจนขาดพลังงานเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ ร่างกายจึงขาดความสมดุลในการเผาผลาญและการเก็บพลังงาน ทำให้สูญเสียความสามารถในการเผาผลาญของร่างกายเมื่อกลับมารับประทานตามเดิมจึงกลับมาอ้วนตามเดิม หรืออ้วนกว่าเดิมเป็นวงจรไม่จบ! สำหรับผู้ที่อายุยังน้อยและมีร่างกายแข็งแรง อาจไม่รู้สึกโยโย่ในการลดน้ำหนักครั้งแรก แต่หากยังฝืนลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องต่อไป ก็จะรู้สึกได้ว่าการลดน้ำหนักยากขึ้นเรื่อยๆ และจบลงด้วยภาวะน้ำหนักตัวโยโย่ในที่สุด"

"การอดอาหารจะทำให้สารอาหารและพลังงานที่เข้าสู่ร่างกายลดลงมากเกินไป ทำให้ร่างกายค่อยๆ สูญเสียการเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้โปรแกรมที่ไม่ต้องออกกำลังกาย บวกกับความเครียดจากความหิว จะยิ่งทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและส่งผลร้ายต่ออัตราการเผาผลาญ รวมทั้งการตัดสินใจลดน้ำหนักด้วยยาลดน้ำหนัก โดยไม่สนใจที่จะควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายให้ถูกต้อง ยังเป็นตัวเร่งให้ภาวะน้ำหนักตัวโยโย่เกิดได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย"

ผลกระทบของโยโย่ อันตรายกว่าที่คิด!

"เมื่อเกิดภาวะน้ำหนักตัวโยโย่ หมายความถึง ร่างกายกำลังเผชิญกับภาวะไขมันเกินร่วมกับภาวะมวลกล้ามเนื้อลดลง และระบบการเผาผลาญในร่างกายมีความเสียหายอย่างรุนแรง เรียกว่า เสียสุขภาพมากกว่าตอนที่น้ำหนักเกินเพียงอย่างเดียวเสียอีก และยังเป็นบ่อเกิดของโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด ไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน และที่สำคัญที่สุดคือ การฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้กลับมาดังเดิมจะทำได้ยาก และใช้เวลานานกว่าการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง หรือหลายคนไม่สามารถมีสุขภาพฟื้นกลับคืนได้อีกเลย(2)"

6 กฎเหล็กสำคัญ เพื่อการลดน้ำหนักให้สำเร็จอย่างยั่งยืน

รับประทานอาหารให้ได้แคลอรีและสารอาหารเพียงพอกับการเผาผลาญพื้นฐานของร่างกายใช้โปรแกรมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่มีสารอาหารครบถ้วน เพียงควบคุมแคลอรีเท่านั้นหมั่นรับประทานอาหารที่มีวิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์วางแผนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีช่วงพักลดน้ำหนักเป็นระยะๆ เมื่อลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ตึงเครียดเกินไปหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักมากเกินไป แต่ละครั้งไม่ควรลดเกิน 10% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น

สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ ขอแนะนำ4 เคล็ดลับเรื่องการเลือกรับประทานอาหารในช่วงลดน้ำหนักเพื่อไม่เกิดโยโย่

"โปรตีน สำคัญมาก! เพราะช่วยให้อิ่มท้องนาน ไม่กินจุบจิบ ควรเลือกโปรตีนจากสัตว์ที่มีไขมันแฝงน้อยและโปรตีนจากพืชอย่างสมดุลจะช่วยลดน้ำหนักได้ แหล่งโปรตีนเหล่านี้ เช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง ถั่วเหลือง นม เนื้อไก่ และเนื้อปลา นอกจากนี้ หากเรารับประทานโปรตีนในมื้อเช้ายังมีข้อดีคือช่วยให้สมองแจ่มใส มีสมาธิในการเรียนและทำงานมากขึ้น เพราะร่างกายจะสร้างสารทริปโตเฟนช่วยให้สมองกระปรี้กระเปร่า

ข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีทแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยม เพราะแป้งในข้าวกล้องถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) ที่ร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสม่ำเสมอ ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้ไม่อ้วน ในขณะที่แป้งในข้าวขาวถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (simple carbohydrate) ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างเร็ว ไม่สมดุลกับระดับอินซูลิน ทำให้น้ำตาลเหลือในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนง่าย

ผักใบเขียวช่วยดีท็อกซ์ ในที่นี้หมายถึงผักใบเขียวที่ต้องออกแรงเคี้ยว และผลไม้ที่ไม่หวานจัด ซึ่งผักผลไม้มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนัก เพราะมีใยอาหารถึง 2 ประเภทคือ 1. ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยเพิ่มมวลของกากอาหาร กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ถั่ว ถั่วเหลือง ข้าวบาร์เลย์ ธัญพืชต่างๆ 2.ใยอาหารชนิดละลายน้ำ มีคุณสมบัติช่วยดูดซับน้ำตาลและไขมันส่วนเกินในระบบลำไส้ เหมาะสำหรับคนที่อยู่ระหว่างควบคุมน้ำตาล ได้แก่ แอปเปิ้ล ข้าวโพด แครอท รำข้าวสาลี โดยควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้ 25-30 กรัมต่อวัน เพื่อเป็นการดีท็อกซ์ตามธรรมชาติ

ไขมัน ใช่ว่าเป็นมารร้ายเสมอไป เพราะยังมีไขมันชั้นดีที่เราควรเลือกรับประทาน เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งจะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C) ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แหล่งของไขมันที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ถั่ว อัลมอนด์ เป็นต้น

รู้เคล็ดลับดีๆ แบบนี้แล้ว คราวนี้ก็ได้ผอมแบบสุขภาพดีกันถ้วนหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version