ก.ล.ต. เดินหน้าทำความเข้าใจ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ เพิ่มประสิทธิภาพบังคับใช้กฎหมาย

พุธ ๑๑ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๕๑
ก.ล.ต. เดินหน้าทำความเข้าใจพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ตลอด 9 เดือน กับผู้บริหารจดทะเบียน นักวิเคราะห์ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความกระจ่างในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เน้นคุ้มครองผู้ลงทุน

นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า "หัวใจสำคัญของการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ฉบับที่ 5 ซึ่งได้เริ่มใช้ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา เน้นการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากการกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน การใช้ข้อมูลภายใน และการสร้างราคาหลักทรัพย์ รวมถึงการเพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่ง ซึ่งจะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ทำผิดรวดเร็วมากขึ้น"

"เมื่อเริ่มบังคับใช้กฎหมายใหม่ ๆ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหารจดทะเบียน นักวิเคราะห์ ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปเกิดข้อสงสัยหรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอยู่บ้าง ซึ่งทาง ก.ล.ต. เองก็ได้เร่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ฉบับที่ 5 กับทุกภาคส่วนต่อเนื่องตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งสัมมนา เผยแพร่วิดีโอ ทำคำถามคำตอบที่พบบ่อย"

สำหรับการห้ามใช้ข้อมูลภายในเป็นหลักที่มีอยู่เดิมอยู่แล้ว ซึ่งข้อมูลภายในหมายถึงข้อมูลที่มีสาระสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือการตัดสินใจลงทุนและยังไม่เปิดเผยกับประชาชน กฎหมายฉบับที่ 5 ขยายความครอบคลุมมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ผู้ทำผิดกฎหมายในเรื่องนี้จะจำกัดอยู่ที่คนวงในซึ่งได้แก่ กรรมการและผู้บริหารเป็นหลัก แต่ตอนนี้จะครอบคลุมไปถึงผู้ที่ได้รับข้อมูลนั้นมาอีกทอดหนึ่งด้วย เท่ากับว่าทั้งผู้ให้ข้อมูลและผู้รับข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์อาจต้องมีความรับผิด คนที่ได้ข้อมูลและเอาไปซื้อขายทอดต่อ ๆ ไปก็เข้าข่ายด้วย เพราะหลักสำคัญคือ การกำลังใช้ประโยชน์บนข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยทั่วไป จึงเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุนที่ไม่ได้มีข้อมูลนั้น

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่มีข้อสันนิษฐานว่ากรรมการและผู้บริหารที่เข้าไปซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงที่มีข้อมูลภายใน หรือหากเป็นคนใกล้ชิดที่ซื้อหรือขายอย่างผิดปกติจากที่เคยทำ ก็จะถูกพิจารณาไว้ก่อนว่าเป็นผู้ที่รู้และครอบครองข้อมูลภายในอันอาจเป็นความผิด ซึ่งจะต้องมีหน้าที่ไปพิสูจน์ว่าไม่ได้ใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งเรื่องซื้อหรือขายนี้อาจเกิดขึ้นแม้ทำเพียงซื้อหรือขายเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ในส่วนของกรรมการและผู้บริหารของบางบริษัทอาจมีการใช้แนวปฏิบัติที่ดี หรือ best practice เพื่อช่วยในเชิงป้องกัน เช่น ห้ามกรรมการและผู้บริหารซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลา 30 วัน ก่อนงบการเงินจะเปิดเผยสู่สาธารณชน อย่างไรก็ดี หากในช่วงก่อน 30 วัน กรรมการและผู้บริหารรับรู้ข้อมูลภายในก็ยังต้องไม่ซื้อขายหรือเอาไปบอกต่อ เพราะอาจเข้าข่ายมีความผิดได้เช่นกัน

ในส่วนของการคาดการณ์ยังคงทำได้ตามปกติ เช่น การคาดการณ์ยอดขาย กำไร หรือกำลังการผลิตทั้งปี ซึ่งเป็นการพูดข้อมูลในระยะยาว ๆ และไม่ได้ไปกระทบกับราคาโดยทันที แต่หากมีการเปิดเผยหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการคาดการณ์ต่อประชาชนที่น่าจะมีผลต่อราคาหลักทรัพย์ หรือคาดการณ์แบบไม่มีที่มาที่ไปของสมมติฐานหรือเอามาจากข้อมูลเท็จ หรือไม่พิจารณาความถูกต้องของข้อมูล ก็อาจเข้าข่ายมีความผิดได้ ดังนั้น ผู้ที่ออกมาวิเคราะห์หรือคาดการณ์ต้องใช้ข้อมูลที่เป็นความจริง ครบถ้วนตามที่มีอยู่ ไม่บิดเบือน และได้พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเปิดเผยผลการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ต่อประชาชนได้

"กฎหมายใหม่นี้ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความคุ้มครองมากขึ้นจากการกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดย พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้การกำกับดูแลตลาดทุนดำเนินการอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม ซึ่งเมื่อดำเนินการได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับความคุ้มครองและสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างเชื่อมั่น ทุกภาคส่วนสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้อย่างแท้จริง" นายศักรินทร์ กล่าว

มาตรการลงโทษทางแพ่งแบ่งเป็นหลายประเภท ทั้งที่เป็นค่าปรับและมาตรการป้องปรามไม่ให้ผู้นั้นมีโอกาสทำผิดได้อีก ในส่วนของการปรับจะต้องมีทั้งการจ่ายค่าปรับทางแพ่งซึ่งสูงสุดคือ 2 เท่าของผลประโยชน์ และยังต้องถูกเรียกคืนประโยชน์ที่ได้ไปอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ทำผิดอาจถูกห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ และถูกห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทหลักทรัพย์ และต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคืน ก.ล.ต. อีกด้วย

กลุ่มความผิดที่นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้ได้ ได้แก่ การกระทำความผิดในกลุ่มการกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย กลุ่มการเปิดเผยข้อมูลเท็จ หรือปกปิดความจริงในเอกสารที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน และกรณีกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งการใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือ nominee เพื่อซื้อขายที่ผิดกฏหมาย โดยเมื่อ ก.ล.ต. เห็นควรใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเสนอคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง อย่างไรก็ดี หากผู้กระทำผิดยินยอมชำระเงินค่าปรับและคืนประโยชน์ คดีจะสิ้นสุดลงทั้งในส่วนมาตรการลงโทษทางแพ่งและทางอาญา แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมชำระเงิน สำนักงานจะดำเนินการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาลแพ่งต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ