กรมสุขภาพจิต แนะ 6 แนวทาง เตรียมความพร้อมกาย - ใจ ผู้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ

อังคาร ๑๗ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๑๔
วันนี้ (17 ต.ค. 2560) นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตที่จะเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่า กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต คือ กลุ่มคนที่จิตใจเปราะบางอยู่เดิม ได้แก่

1. ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหรือผู้ที่มีความเครียดเป็นทุนเดิมมาก่อน ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจหรือสูญเสียคนรัก ในครอบครัว

2.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางกายประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

3.กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเวช

จึงควรเตรียมความพร้อม ดังนี้

1.ประเมินความพร้อมของตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ หากต้องเผชิญกับฝูงชนจำนวนมาก และบรรยากาศที่เศร้าโศก ถ้าไม่พร้อม สามารถอยู่ร่วมงานทางไกลหรือตามจังหวัดของตนเองได้ ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่านได้เช่นกัน

2.สำหรับผู้ที่จะมาร่วมงานพระราชพิธีฯ ควรรับประทานอาหารและพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

3.งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิดเพราะอาจทำให้คุมสติไม่ได้เต็มที่

4.เตรียมยาและน้ำมารับประทานต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาในช่วงที่มาร่วมพระราชพิธีฯ ถ้าลืมนำยาติดตัวมาหรือทำยาหายให้ติดต่อหน่วยทางการแพทย์

5.ควรเขียนชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ญาติที่ติดต่อได้สะดวก เพื่อป้องกันการพลัดหลง รวมทั้งพกซองยาที่มีชื่อตัวยามาด้วย ซึ่งจากการให้บริการด้านสุขภาพจิตที่ผ่านมา จะพบว่า ผู้ป่วยที่มาร่วมงาน ส่วนใหญ่จะขาดยาทั้งที่ไม่ยอมมารับยาและขาดยาเพราะไม่ได้เอายาติดตัวมาด้วย

และ 6. ไม่ควรมาเพียงลำพัง ควรมีญาติมาด้วย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า เราทุกคนสามารถช่วยดูแลใจกันและกันได้ หากพบคนรอบข้าง ร้องไห้ฟูมฟาย แยกตัวอยู่คนเดียว เพ้อ ซึมเศร้า เหม่อลอย หรือเอะอะโวยวาย ให้ใส่ใจ รับฟัง พูดคุยกับเขา ปลอบประโลมเขา สัมผัสให้เขารู้สึกว่ามีคนเข้าใจ มีคนให้กำลังใจ ถ้ายังไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ พยาบาลเคลื่อนที่ ทีมเดินเท้า จิตอาสาด้านการแพทย์ MCATT และจิตอาสายุวMCATT TO BE NUMBER ONE เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ความรู้สึกโศกเศร้า คิดถึง หรือระลึกถึงย่อมมีเพิ่มมากขึ้นได้ในช่วงงานพระราชพิธีฯ เป็นปฏิกิริยาปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้ ในผู้ที่มีความรู้สึกสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่เป็นความผูกพันยึดเหนี่ยวจิตใจได้ขาดหายไป แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และหมดไป ทั้งนี้ เชื่อว่า คนไทยมีภูมิต้านทานดีขึ้น สามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ ด้วยมีการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจมาได้ในระดับหนึ่งแล้ว จากการแปลงความโศกเศร้าเป็นพลังทำความดีที่ผ่านมา ขอเพียงมีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ท่านได้สอนเราไว้ แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติ สืบสานตามพระราชปณิธานเพื่อพระองค์จะได้มีความสุข เหล่านี้จะช่วยทำให้สภาพจิตใจเราดีขึ้นได้

"หากไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ได้ ให้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ แนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนหมั่นทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณกุศล เช่น เป็นจิตอาสาช่วยในด้านต่าง ๆ การทำดอกไม้จันทน์ การร่วมทำบุญบริจาค หรือกิจกรรมอื่นๆ ตามแต่กำลังของตน เป็นต้น" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ