ปัจจุบัน คำว่าฟินเทคมีการให้คำนิยามมากมาย ซึ่งฟินเทคครอบคลุมถึงเทคโนโลยีและโซลูชั่นระบบดิจิทัลมากมายสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรูปแบบต่าง ๆ ทั้งธุรกรรมการเงินสำหรับธุรกิจและธุรกรรมการเงินสำหรับผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่เริ่ม "ฉลาดมากขึ้น" และสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้นทุกที การพัฒนาฟินเทคจึงยิ่งทวีความรวดเร็วและเปิดโอกาสใหม่ ๆ มากมายที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มต้นกับสิ่งต่างๆ อาทิ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครดิตการ์ด และในปัจจุบันมุ่งไปสู่หน้าที่การใช้งานอื่น ๆ อาทิ Mobile wallet, Mobile banking และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในขณะที่ภูมิปัญญาประดิษฐ์ (AI) และคลาวด์ (Cloud) มีการพัฒนาล้ำหน้าไปมาก โอกาสของฟินเทคก็ขยายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่หลายรายต่างตระหนักถึงเรื่องนี้และกำลังพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อรองรับผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะในตลาดทุกระดับ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคกลุ่มนี้เคยถูกละเลยโดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ โอกาสเหล่านี้เกิดจากความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนซึ่งช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถสร้างโซลูชั่นเฉพาะด้านที่มีมูลค่าสูงได้ในราคาที่สมเหตุสมผล โดยธุรกิจที่ใช้โซลูชั่นนี้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ การบริหารการเงินส่วนบุคคล การบริการจัดการสินทรัพย์ การประกันภัย การชำระค่าสินค้าและบริการ การจัดอันดับเครดิต และอีกมากมาย
ด้วยโอกาสใหม่ที่เกิดขึ้น ความก้าวหน้าของฟินเทคจะเป็นสิ่งชี้นำระบบการตัดสินใจอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และเพิ่มประสิทธิภาพในโดเมนด้านการเงิน ขอบเขตการทำงานด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการตลาด ก็จะได้รับประโยชน์จากความสามารถในการประเมินสินทรัพย์และเข้าใจถึงข้อมูลจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้การชี้เฉพาะตลาดเป้าหมายใหม่และการดำเนินงานด้วยวิธีการที่เหมาะสมกลายเป็นรื่องง่ายยิ่งขึ้น การพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคที่รวดเร็วจะช่วยขยายผลลัพธ์และสร้างแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการเชื่อมโยงผู้ให้บริการ ผู้ซื้อ ผู้ขาย และพันธมิตรธุรกิจที่มีศักยภาพไว้ด้วยกัน
"ฟินเทคคืออุตสาหกรรมที่น่าประทับใจซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้พบเห็นธุรกิจสตาร์ทอัพรายใหม่มากมายที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนานี้และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ยอดเยี่ยม ในขณะที่สถาบันการเงินรายใหญ่บางครั้งยังประสบความยากลำบากในการตามให้ทันกระแสดังกล่าว ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายภายในงานประชุม BIIA ที่กำลังจะมาถึงนี้ และผมยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานครั้งสำคัญและจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกล่าสุดกับผู้นำอุตสาหกรรมรายอื่น ๆ เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมการพัฒนาและการใช้งานระบบดิจิทัลรายแรกๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถือเป็นสถานที่ที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับการจัดงานครั้งนี้" ดร. แอนโธนี สกริฟฟิญาโน รองประธานกรรมการอาวุโสและหัวหน้าทีมนักวิทยาศาตร์ข้อมูลแห่ง ดัน แอนด์ แบรดสตรีท กล่าว