'ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์’ จากประสบการณ์กว่าตรงใน 'วิชาชีพสถาปัตยกรรม’ ขอร่วมพัฒนาวงการ 'สถาปนิกไทย’ หมายเลข 6 I 24(2) เลือกตั้งกรรมการสภาสถาปนิก’2560

อังคาร ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๐๗
'ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์' หนึ่งใน 'สถาปนิกที่มีชื่อเสียงของไทย' ผู้สมัครรับเลือกตั้งกรรมการสภาสถาปนิก วาระ ปี พ.ศ. 2561-2564 'เบอร์ 6' ตามมาตรา 24(2) จากสมาชิกสามัญที่ได้ดำรงตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา ขออาสา 'เป็นตัวแทนสถาปนิกรุ่นใหม่' ตัวแทนคนเจนเอ็กซ์ ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2508-2522 เพื่อเข้าไปทำงานในฐานะกรรมการสภาสถาปนิกเพื่อพัฒนาวงการสถาปัตยกรรม 'ผมมีความมุ่งมั่น' และ 'ตั้งใจจริง' ที่จะนำความรู้ประสบการณ์จากประสบการณ์ตรง ที่คร่ำหวอดทำงานกว่า 16 ปี ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ทั้งวิชาชีพ และวิชาการ มีผลงานออกแบบอาคาร และวางผังโครงการ ผ่านมาแล้วทุกประเภทอาคารหลายร้อยอาคารทั้งในกรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศไทยเป็นที่รู้จักของผู้ประกอบการทุกระดับ วันนี้กระผมพร้อมแล้วเพื่อการทำงานในเวทีสาธารณะเพื่อผสานวงการ 'สถาปนิกไทย' ให้ก้าวหน้าไปพร้อมกันทุกสาขา และทุกสถาบันอย่างเท่าเทียม และมุ่งพัฒนา 'วิชาชีพสถาปัตยกรรมของไทย' ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติสูงสุด

'ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์' เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2520 (ชื่อเล่น : เมฆ) สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2543 สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2547 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2558 ปัจจุบัน ดร.พัฒน สุวรรรสัมฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท พัฒน โปรเฟสชันแนล จำกัด และอาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวมทั้งอาจารย์พิเศษ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมหลัก ระดับวุฒิสถาปนิก และสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ระดับสามัญสถาปนิก

ก่อนหน้าจะมาเป็นสถาปนิกมืออาชีพแบบในปัจจุบัน ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เริ่มต้นเป็นสถาปนิกในภาคเอกชน ที่ บริษัท เกเบิ้ล อาคิเทค จำกัด ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 และผันตัวไปทำงานสถาปนิกภาครัฐ เป็นสถาปนิก 5 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2558-2560 ต่อมาหลังจากเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิก และมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับระบบการขออนุญาตก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ ก.ท.ม. ทำให้การเซ็ทแบบมีความแม่นยำสูงในการขออนุญาตก่อสร้าง จนเกิดความมั่นใจได้ออกมาเปิดบริษัทในชื่อ 'บริษัท พัฒน โปรเฟสชันแนล จำกัด' ร่วมกับทีมงานเจ้าหน้าที่ ก.ท.ม. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 รับออกแบบอาคารทุกประเภทเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ต่อมาหลังจากบริษัทอยู่ตัวได้ศึกษาต่อปริญญาเอกเพื่อเพิ่มมิติการทำงานทางด้าน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และผันตัวเองไปให้ความรู้ และประสบการณ์กับสถาปนิกรุ่นใหม่ยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และนักสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ยังคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำประโยชน์ให้สังคม ควบคู่ไปกับการทำงานวิชาชีพ

ผลงานออกแบบของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ ที่ผู้ประกอบการทุกระดับรู้จักกันดีจำนวนหนึ่ง ประเภทคอนโดมิเนียม อาทิ เดอะ ราฟเฟิล คอนโดมิเนียม (ลาดพร้าว 42/1) เดอะ คลาสซี่ คอนโดมิเนียม (รัชดาภิเษก 19) พลัส คอนโดมิเนียม (กะทู้, ภูเก็ต) บูกิตตา แอร์พอร์ต คอนโดมิเนียม (สาคู, ภูเก็ต) เดอะ แลนด์สเคป คอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง) และ เดอะ แลนด์สเคป เอ็กเซ็กคูทีฟคอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง) เดอะ แคช คอนโดมิเนียม (ลำลูกกา-คลองสอง) ประเภทเซอร์วิสอพาร์ทเม้นสำหรับชาวต่างชาติ อาทิ ซีวี ทเวลฟ์ เดอะ เรสซิเดนซ์ (สุขุมวิท 53) แบมบู ฟอร์เรส อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 52) เดอะ ทริปเปิ้ล โอ๊ค อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 33) บิ๊กทรี เรสซิเด้นซ์ (บางพลีนิเวศน์) ประเภทอพาร์ทเม้นท์ อาทิ เดอะพราว เรสซิเดนซ์ (ลาดพร้าว 18) บางนา 21 เรสซิเดนซ์ (บางนาตราด 19 แยก 18) พีเบอร์รี่เพลส อพาร์ทเม้นท์ (ลาดพร้าว 1 แยก 10) ประเภทหอพักนักศึกษา อาทิ เดอะสตาร์ อพาร์ทเม้นท์ (เมืองเอก) ประเภทอาคารเรียนโรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ แห่งที่ 2 (โพธิ์เก้าต้น, ลพบุรี) และอื่นๆ

จากผลงานที่กล่าวมาผลงานการออกแบบเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวญี่ปุ่น ของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ มีความโดดเด่นได้รับการยอมรับจากชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทยว่าสามารถออกแบบพื้นที่ใช้สอยของห้องพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานได้ถูกใจชาวญี่ปุ่น อบอุ่นเทียบเท่ากับการอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น ในผลงานการออกแบบเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ย่านสุขุมวิท อย่างโครงการ ซีวี ทเวลฟ์ เดอะ เรสซิเดนซ์ (สุขุมวิท 52) และเดอะ ทริปเปิ้ล โอ๊ค อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 33) โดยได้รับคัดเลือกจากผู้จัดงาน รับรองโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ฐานะนักออกแบบ/สถาปนิกไทย ให้ไปแสดงผลงานออกแบบเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวญี่ปุ่นในประเทศไทยยังงาน Living & Design 2016, Osaka – Nanko, ATC Hall นครโอซากา ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา และในปี พ.ศ.2560 จากผลงานการออกแบบอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติ ของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ ได้รับการยอมรับจากชาวอาหรับ โดยเฉพาะชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เคยเดินทางมายังประเทศไทย ว่าสามารถออกแบบห้องพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานได้ถูกใจชาวอาหรับตามแนวรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท อาทิโครงการแบมบู ฟอร์เรส อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 52) และเมืองท่องเที่ยวภูเก็ต อาทิ พลัสคอนโดมิเนียม (กะทู, ภูเก็ต) และบูกิตตา แอร์พอร์ต คอนโดมิเนียม (สาคู, ภูเก็ต) ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ จึงได้คัดเลือก ดร.พัฒน สุวรรรสัมฤทธิ์ ฐานะนักออกแบบ/สถาปนิกไทย เป็นคณะผู้แทนการค้าบริการก่อสร้างและธุรกิจเกี่ยวเนื่องเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อรองรับงาน World Expo 2020 Dubai ระหว่าง ณ โรงแรมดุสิตธานีดูไบ นครดูไบ ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา

ขอให้ท่านได้เชื่อมั่นในศักยภาพของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจวิชาชีพจากประสบการณ์ตรง มาทำงานให้สมาชิกทุกท่านโดยไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วงการสถาปนิก ถึงเวลาแล้วที่สภาสถาปนิกจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ให้เข้ามาเป็นพลังขับเคลื่อนการดำเนินการของสภาสถาปนิกต่อไป โปรดให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปทำงานด้วยครับ Link วิสัยทัศน์ ผู้สมัครกรรมการสภาสถาปนิก http://www.act.or.th/th/news/info.php?id=1266 ผู้สนใจท่านใดสนใจเป็นพันธมิตรทางวิชาชีพ และวิชาการ ติดต่อได้ที่ 086 610 5282 หรือ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ