ม.อ. ลงพื้นที่พบชาวบ้าน แลกเปลี่ยนความคิด สร้าง “ย่านตาขาวโมเดล”

อังคาร ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๓๘
วันนี้ (21 ตุลาคม 2560) เวลา 14.00 น. ที่หัวสะพานเก่า อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายชวน หลีกภัย ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณาจารย์และนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลงพื้นที่ชุมชนเทศบาลตำบลย่านตาขาว ตามโครงการ "ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ย่านตาขาวโมเดล" อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อพบปะพูดคุยและรับฟังปัญหาจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว โดยได้รับการต้อนรับและร่วมพูดคุยจาก นายศิริพล พิพัฒน์รัตนเสรี นายอำเภอย่านตาขาว นายวุฒิชัย สุนทรนนท์ นายกเทศมนตรีตำบลย่านตาขาว ตัวแทนผู้บริหารเทศบาลตำบลย่านตาขาว ตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว ที่มาพูดคุยถึงแนวคิดที่จะจัดรวมพลังสร้างชุมชนให้เกิดเป็น "ย่านตาขาวโมเดล" และได้เดินทางไปยัง "บ้านปู่นิล" หรือบ้านต้นตระกูลสุนทรนนท์ อายุกว่า 100 ปี ที่ทายาทตระกูลสุนทรนนท์ ได้วางแผนจะมอบสถานที่แห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านตาขาวโมเดล เพื่อเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของคนรุ่นหลังต่อไป.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ