นายมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรีกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ซี.พี. เวียดนาม กล่าวว่า การส่งมอบนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจถือเป็นภารกิจสำคัญ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากและหลากหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ตลอดจนมีความเกี่ยวข้องกับมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ การประกาศนโยบายดังกล่าวเป็นการนำร่องในคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Supplier) 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัตถุดิบหลักทางการเกษตร กลุ่มเครื่องปรุง และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ 67 ราย เพื่อร่วมกันพัฒนาคู่ค้าธุรกิจให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเติบโตในระยะยาวมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลักได้ครบ 100% ภายในปี 2563 (ปีคศ.2020)
สำหรับนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมการบริหารจัดการใน 4 ด้าน ที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and Service) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง "คุณภาพและความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร" เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญก่อนส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค ด้านบุคลากร (People) เน้นการปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างเป็นธรรมและเคารพในสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการผลิต (Process) ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร และด้านการดำเนินงาน (Performance) ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
"เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ บนรากฐานของการร่วมการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน จึงมีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งบริษัทฯตระหนักดีว่า "คู่ค้าธุรกิจ" คือ ห่วงโซ่สำคัญของความสำเร็จที่มั่นคงและยั่งยืนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพในด้านคุณค่า รสชาติ และความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ" นายมนตรี กล่าว
นายมนตรี ย้ำว่า การกำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจให้มีความสอดคล้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะช่วยพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ยังส่งเสริมให้ทั้ง 2 ฝ่ายเติบโตไปด้วยกัน และมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
นายม๋าเหยิวจี๊ (Mr.Mã H?u Trí) เป็นหนึ่งในคู่ค้าด้านปลาป่น ของบริษัทฯ กล่าวว่า CPV ให้การสนับสนุนคู่ค้าให้เดินตามแนวปฏิบัติในการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี เพื่อให้บริษัทคู่ค้าได้การรับรองมาตรฐานยั่งยืนของสากล โดยเฉพาะการรับรองสำหรับปลาป่น ซึ่งเป็นมาตรฐานของการจัดหาที่มีความรับผิดชอบ รับรองโดยองค์กรด้านน้ำมันปลาและปลาป่นระดับสากล (International Fishmeal and Fishoil Organization Responsible Supply or IFFO RS) สำหรับทุกโรงงานผลิตต้องพิสูจน์ได้ว่าการจัดหาวัตถุดิบโดยการบริหารที่ดี ปลอดภัยและตรวจสอบย้อนกลับได้
ปัจจุบันในประเทศเวียดนาม มีเพียง 3 โรงงาน ที่ได้มีการรับรอง IFFO ซึ่งบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำเหล่านั้น จะเป็นซัพพลายเออร์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นซัพพลายเออร์ ที่ไม่ใช่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ CPV แต่ยังตอบตอบสนองความต้องการกับบริษัทชั้นนำอื่นๆ รวมถึงสามารถส่งออกปลาป่นไปประเทศอื่นๆในภูมิภาคด้วย
นายเหวียน ต๊วน นาม (Mr.Nguy?n Tu?n Nam) ผู้จัดการบริษัทนำเข้าและส่งออก Khai Anh จำกัด ให้ข้อมูลว่า บริษัทได้ส่งมอบวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายประเภท เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด รำข้าว… ให้ CPV ปริมาณ 150,000 ตัน ซึ่ง CPV ให้การสนับสนุนซัพพลายเออร์เพื่อให้ได้การรับรองตามมาตรฐานที่ยั่งยืนอย่างเสมอ
ทั้ง 2 บริษัทเป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบ (Raw materials) ให้กับ CPV และได้รับรองมาตรฐาน HACCP เรียบร้อยแล้ว