จากปลูกป่าช่วยชาติ...สู่ไม้กฤษณาออนไลน์

จันทร์ ๓๐ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๓๙
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หนุนวิสาหกิจชุมชน ใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ชู หนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้กฤษณา "มีสุข"ต้นแบบการบริหารจัดการขับเคลื่อนด้วยธุรกิจออนไลน์กลายเป็นสินค้าโอทอปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นางพิกุล กิตติพล ประธานวิสากิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณาหอมมีสุข เล่าว่า เป็นเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว ที่ชาวชุมชนกะเฉด จังหวัดระยอง ช่วยกันปลูกป่าหลังจากก่อนหน้านี้ มีการตัดต้นไม้ทำลายป่ากันมาก และเธอเอง ก็เป็นราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าดูแลแผ่นดิน ในโครงการตามพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 ที่มีพระราชปณิธานให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ป่าที่ช่วยกันปลูกได้กลายเป็น "ขุมทรัพย์บนดิน"" ของชุมชนในวันนี้ โดยเฉพาะไม้กฤษณา ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากแก่นไม้กฤษณา แทบทุกส่วนของต้นยังนำมาแปรรูปได้หลากหลายมากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์แล้ว ทั้งผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและการดูแลร่างกาย ไปจนถึงใบชา มีตลาดส่งออกหลักๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และตะวันออกกลาง โดยกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณาหอมมีสุข ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาไซเตสแล้ว ทำให้สามารถขายและส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้กฤษณาแบรนด์ "มีสุข" ได้ขยายช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์ ได้แก่ www.mesook.com และเฟซบุ๊กที่เพจ Mesook Farm อีกทั้งอยู่ระหว่างทำเว็บไซต์http://kridsana.com ซึ่งจะมีข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษสำหรับลูกค้าต่างชาติด้วย โดยทางกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขายออนไลน์จากศูนย์การเรียนรู้ไอซีชุมชน อบต.กะเฉด ตำบลกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามามีส่วนสำคัญในการช่วยผลักดัน ด้วยการให้ความรู้ เทคนิควิธี รับมือการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด และวิธีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ จากเดิมที่ชาวบ้านไม่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ก็ได้มาศึกษาว่ากดคอมพิวเตอร์ยังไง เปิดดูกูเกิล หาความรู้อย่างไร การขายทางออนไลน์ การส่งสินค้า การส่งอีเมล์ให้ลูกค้าทำยังไง สามารถสร้างตลาดเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งยิ่งมีการค้าทางออนไลน์มากเท่าไร ก็จะทำให้ตลาดขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากจะเป็นช่องทางการขายที่เป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชนอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025