สคช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจัดสัมมนา “สมรรถนะของคน หุ่นยนต์ เทคโนโลยี ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต”

พุธ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๓:๓๔
พร้อมออกมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รองรับกำลังคนในอนาคตของอุตสาหกรรมนี้ที่กำลังจะลดจำนวนลง เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ตอบสนองการควบคุมกระบวนการผลิตที่ใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีแทนคนในอีก 3- 5 ปีข้างหน้า

ดร. ประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ ประธานคณะรับรองมาตรฐานอาชีพผลิตชิ่นส่วนยานยนต์ เปิดเผยในงานสัมมนา " สมรรถนะของคน หุ่นยนต์ เทคโนโลยี ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต " จัดโดย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพและสภาอุตสาหกรรมว่า ตามที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ( เมติ ) ได้ทำการสำรวจและวิจัยสถานการณ์การเติบโตของการผลิตรถยนต์จากหลายค่ายพบว่า จากนี้ไปพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของมวลมนุษยชาติจะเกิดปรากฏการณ์ 4 เทรนด์ ที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ Sharing , Connected , EV , และ Self Driving Car

ทั้งนี้ Sharing คือ เกิดการใช้บริการรถยนต์สาธารณะผ่านแอพลิเคชั่น เช่น อูเบอร์ ในหลายประเทศมาตั้งแต่ปี 2009 ส่งผลให้การซื้อรถขนาดกลางไปถึงหรูลดลงมาเรื่อยๆ เพราะสามารถเรียกใช้บริการจากอูเบอร์ได้ แม้กระทั่งผู้ผลิตรถหรูหลายค่ายเริ่มสนใจเข้ามาในตลาด Sharing Market กันมากขึ้น

Connected คือ เทรนด์ในการใช้ข้อมูลกลางร่วมกันในการพัฒนาชิ่นส่วนยานยนต์ร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างผลิตดังที่ผ่านมา ชิ่นส่วนสามารถใช้ได้กับรถทุกยี่ห้อ การผลิตอะไหล่ที่สามารถตอบสนองรถอูเบอร์เป็นปัจจัยสำคัญ

ทางด้านการผลิตรถยนต์ รถยนต์ไฟฟ้า คือ หนึ่งในทางเลือกของโลกอนาคตที่ต้องการลดมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV หรือElectronic Vehicle มากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่า ในปี คศ. 2030 หลายประเทศทั้งจีน, อินเดีย, อังกฤษ และฝรั่งเศส ต่างออกนโยบายให้รถยนต์ในประเทศนั้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด และในที่สุดแล้ว พัฒนาการของยานยนต์จะสามารถไปไกลถึงขั้นสูงสุดที่สามารถขับเองได้โดยไม่ต้องใช้คน ไม่มีพวงมาลัยรถ สั่งการด้วยการกดปุ่มรถก็เคลื่อนที่ได้ตามที่เราต้องการ ( Self Driving Car )

นายวัชรพงศ์ วราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ครั้งนี้ สร้างผลกระทบไปถึงหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปถึงปีถึงปี 2026 ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกกว่ารถยนต์แบบเดิม แน่นอนว่าแนวโน้มนี้จะทำให้ผู้คนหันมาสนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ดังนั้น หากยังไม่เตรียมความพร้อม จะเสียโอกาสทางธุรกิจเป็นอย่างมาก และมีผลกระทบกับปัญหากำลังคนในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่จะต้องปรับตัวและพัฒนาสมรรถนะตนเอง จึงเป็นที่มาของการที่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จับมือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการจัดทำมาตรฐานอาขีพของแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ เพราะจากนี้ไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า ค่ายรถยนต์จะมุ่งผลิตแต่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งชิ้นส่วนนั้นผลิตง่ายกว่า ใช้หุ่นยนต์มาแทนคนในกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน และมีต้นทุนต่ำกว่า โอกาสที่แรงงานจะหายไปจำนวนมากจะเกิดขึ้นแน่นอน

นายพิชัย สายชล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยซัมมิท แหลมฉบัง ออโต้พาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับค่ายรถยนต์ทั้งยุโรปและญี่ปุ่น กล่าวว่า จากปรากฏการณ์ที่กล่าวมา นอกจากที่บริษัทฯ จะเพิ่มเครื่องจักรและหุ่นยนต์มากขึ้น โดยปัจจุบัน มีหุ่นยนต์ถึง 838 ตัว เทคโนโลยีที่ใช้ในส่วนของเครื่องจักรนั้นเป็นระบบ Semi Auto เป็นส่วนใหญ่ หัวใจหลัก คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรเหล่านี้ บริษัทฯ จึงได้เตรียมความพร้อมในเรื่อง การพัฒนากำลังคนใน 5 ปีข้างหน้าไว้แล้ว โดยในปี 2016 บริษัทฯ มีจำนวนพนักงาน 1,000 คน เป็นช่างบำรุงรักษาเพียง 28 คน ปี 2017 จะลดพนักงานเหลือ 900 คน ปี 2018 เหลือ 884 คน ปี 2019 เหลือ 867 คน และ 2020 เหลือ 851 คน

"จากปรากฏการณ์ 4 เทรนด์ ของอุตสาหกรรมยานยนต์นี้ เพื่อที่บริษัทฯ จะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทยไว้ได้นั้น บริษัทฯ ได้ลงทุนเพิ่มจำนวนการใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์มาทดแทนคนในกระบวนการผลิต นั่นหมายความว่า คนที่เหลืออยู่จะต้องมีประสิทธิภาพและความเชี่ยวชาญในระดับสูงในการบำรุงรักษา ปรับแต่งซ่อมแซม อย่างมืออาชีพ การสนับสนุนให้พนักงานเข้ารับการทดสอบคุณวุฒิวิชาชีพจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง " นายพิชัยกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ