กรมวิทยาศาสตร์บริการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ MSTQ พร้อมกระจายองค์ความรู้ ความสามารถ ผ่านห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๐๘:๓๔
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) โดย สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ จัดพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ให้กับห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบของประเทศ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือรับรองห้องปฏิบัติการ พร้อมด้วยนางแน่งน้อง เวทพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะผู้บริหารร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้การใบรับรอง มี 6 ห้องปฏิบัติการ และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ มีจำนวน 2 หน่วยงาน

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การที่ห้องปฏิบัติการหรือผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญมีความพยายามในการพัฒนาองค์กรจนให้ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล จะต้องเสียสละปัจจัยในด้านต่างๆ ทั้งในด้านงบประมาณ กำลังคน ตลอดจนกำลังใจในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำได้ง่าย และนอกจากองค์กร หน่วยงานจะได้การรับรองแล้วยังเป็นการพัฒนาเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ ที่มีความเข้มแข็ง และมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างอื่นที่สามารถต่อยอดไปได้ และกรมวิทยาศาสตร์บริการมีความเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะสามารถให้การรับรองในด้านต่างๆ ขยายตัวมากขึ้นและครบทุกวงจร ซึ่งพิธีมอบใบรับรองห้องปฏิบัติการ ในวันนี้นอกจากที่ห้องปฏิบัติการจะได้การรับรองคุณภาพแล้วยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพให้เข้มแข็งที่จะทำให้สินค้า และการบริการมีประสิทธิภาพ โดยอยู่ภายใต้ระบบที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และในส่วนของสิ่งบริโภค จะเกิดความมั่นใจในด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอีกด้วย ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์บริการยังหวังอีกด้วยว่าห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในกระจายองค์ความรู้ ความสามารถ ให้กับเครือข่ายและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศในแบบองค์รวม อันจะนำไปสู่ความเป็นประเทศไทย 4.0 ที่มั่นคงได้ต่อไป

ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับหนังสือรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการมีจำนวน 6 ห้องปฏิบัติการ และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการจำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่

1. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยื่นขอรับการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบตาม ISO/IEC 17043: 2010 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 โปรแกรมการทดสอบความชำนาญโครงการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการการตรวจเอชไอวีซีโรโลยีแห่งชาติ รายการทดสอบเอชไอวีแอนติบอดี

2. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ยื่นขอการรับรองกับสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 ในรายการ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมดและโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้

3. ห้องปฏิบัติการ ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด ยื่นขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2005 จากสำนักฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 ในรายการปริมาณเอทานอล และpHe ในเอทานอลและเอทานอลแปลงสภาพ

4. บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด ยื่นขอการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนด ISO/IEC 17043: 2010 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 ในโปรแกรม Organochlorine pesticide residues in animal fat, Total cyanide in water, Aerobic plate count in feed และ Salmonella spp. in freeze dried chicken

5. ห้องปฏิบัติการ อีโค่ คอนซัลแทนต์ จำกัด ได้ยื่นคำขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตาม ISO/IEC 17025: 2005 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ในรายการทดสอบสารแขวนลอยทั้งหมด สารที่ละลายได้ทั้งหมด และความเป็นกรด-ด่าง ในน้ำเสีย

6. ห้องปฏิบัติการ บริษัท แอคคิวฟาส แล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด ยื่นขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2005 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 ในรายการความเป็นกรด-ด่าง สารแขวนลอยทั้งหมด สารที่ละลายได้ทั้งหมด ทองแดงและตะกั่ว ในน้ำทิ้งและน้ำผิวดิน

7. ห้องปฏิบัติการวัดกัมมันตภาพรังสีในอัญมณี ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ยื่นขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2005 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 ในรายการความเป็นกรด-ด่าง สารแขวนลอยทั้งหมด สารที่ละลายได้ทั้งหมด ทองแดงและตะกั่ว ในน้ำทิ้งและน้ำผิวดิน

8. ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ยื่นขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2005 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ในรายการทดสอบ ความชื้น ในตัวอย่างขนมขบเคี้ยว และหลังจากการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการได้ขอปรับเปลี่ยนรายการที่ขอรับการรับรองใหม่ เป็นรายการความชื้น ในตัวอย่างกาแฟคั่วบดและกาแฟสำเร็จรูป

อย่างไรก็ตาม ในพิธีมอบใบรับรองระบบห้องปฏิบัติการครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบงานรับรองตามมาตรฐานสากล และจะทำให้เป็นส่วนสำคัญที่จะไปตอบสนองในเรื่องของการที่จะทำให้สินค้าไทยที่ผ่านการตรวจรับรองจากห้องปฏิบัติการ มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญในการรับรอง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือได้ ตลอดจนเป็นการยกระดับความเชื่อมั่นต่อสินค้าที่มากขึ้น และจะนำไปสู่การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการรับรองในระบบงานจะต้องมีการพัฒนา และกรมวิทยาศาสตร์บริการก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยดูแล ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา รวมทั้งที่จะจัดอบรมที่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ