เสวนาทางวิชาการ “ความมั่นคงทางอาชีพและทักษะที่จำเป็นของมนุษย์ในยุคจักรกลอัตโนมัติ"

ศุกร์ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๕:๓๑
ปัจจุบันบทบาทของระบบจักรกลอัตโนมัติ ได้ทวีความสำคัญและเริ่มเข้ามาทำการผลิตและให้บริการแทนที่แรงงานมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า แม้การผลิตจะขยายตัวแต่โอกาสการจ้างงานกลับน้อยลง ปรากฎการณ์นี้สอดคล้องกับรายงานการศึกษาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization: ILO) ปี 2559 ในหัวข้อ ""อาเซียนในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน: เทคโนโลยีจะเปลี่ยนตลาดงานและธุรกิจไปอย่างไร"" (ASEAN in Transformation: How Technology is Changing Jobs and Enterprises) ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เป็นประเด็นที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา จะตั้งรับและพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร ทักษะอะไรที่เด็กและเยาวชนในวันนี้จะอยู่รอดได้ในอนาคตข้างหน้าที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด และองค์กรภาคี จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนาทางวิชาการ Job Security and Human Skills in the Age of Automation ""ความมั่นคงทางอาชีพและทักษะที่จำเป็นของมนุษย์ในยุคจักรกลอัตโนมัติ"" ขึ้นใน วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ ชั้น 12 อาคารเกษม อุทยานิน (รัฐศาสตร์ 60 ปี) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย อาจารย์ ดร. กษิร ชีพเป็นสุข รองผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.10 – 09.20 น. กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน โดย คุณสุขจิต ศรีสุคนธ์ ที่ปรึกษาโครงการ Samsung Smart Learning Center ""ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต""

09.20 – 09.30 น. กล่าวเปิดเสวนา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.30 – 09.50 น. นำเสนอรายงาน โดย Mr. Phu Huynh ผู้เชี่ยวชาญด้านการจ้างงานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) และผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษา เรื่อง "อาเซียนในยุคเปลี่ยนผ่าน: อนาคตตลาดงานท่ามกลางความเสี่ยงจากจักรกลอัตโนมัติ" (ASEAN in Transformation: The Future of Jobs at Risk of Automation)

09.50 – 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.00 – 11.30 น. เสวนาวิชาการ Job Security and Human Skills in the Age of Automation ""ความมั่นคงทางอาชีพและทักษะที่จำเป็นของมนุษย์ในยุคจักรกลอัตโนมัติ""

วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สินีนาฏ เสริมชีพ รองคณบดี คณะเศรษฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ แล ดิลกวิทยรัตน์ ศาสตราภิชาน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ โครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับภาคอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณวาริท จรัณยานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกริช สังขมณี กรรมการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30 – 11.55 น. ถาม-ตอบ

11.55 – 12.00 น. กล่าวปิดเสวนา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมล ทับจุมพล ผู้อำนวยการ หลักสูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ (MAIDS-GRID) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

สอบถามข้อมูล คุณอุษา รุ่งวัฒนไพบูลย์ โทร. 081-984-4973 อีเมล [email protected]

คุณอนุชิต นิธิมงคลทรัพย์ โทร. 063-195-1595 อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ