นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการพัฒนาระบบการค้า-การขายในพื้นที่ผ่านเทคโนโลยี Platform ที่กลุ่ม eTIM พัฒนาขึ้น เรื่องนี้ เป็นนโยบายสำคัญ ของรัฐบาล โดยจะมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้บทบาทของแต่ละหน่วยงาน ศอ.บต. ทำหน้าที่สำคัญร้อยเรียงและบูรณาการความร่วมมือเหล่านั้น ให้เป็นไปโดยสอดรับ/สนับสนุนกัน เช่น กลุ่มทายาทเกษตรชายแดนภาคใต้ ที่จะขยายให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านชุมชน วันนี้เมื่อมีผลผลิตก็ไม่รู้จะไปขายสินค้าที่ไหน หากมีพื้นที่ขายก็ไกล ต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่ง ไม่คุ้มกัน แต่หากเรามี Platformอัจฉริยะดังกล่าว ก็จะเป็นเข้าไปช่วยเขาและประชาชนอีกหลายๆ กลุ่ม เพราะการทำงานเรื่องนี้ จะเป็นการย่อโลกการค้า ลงมา ทำให้เกิดการเชื่อมต่อมากขึ้นและง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน ประชาชนในพื้นที่ก็สามารถดำรงชีวิตได้สะดวกมากขึ้นด้วยการยกระดับร้านค้าในชุมชน เป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ถือว่า ""ประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"" นอกจากนี้ เรายังได้รับความร่วมมือที่ดีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุน การพัฒนาศูนย์สารสนเทศระดับชุมชน ซึ่งจะพัฒนากระบวนการให้ความรู้ เทคนิคและทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนโครงการประชารัฐเศรษฐกิจครัวเรือน รวมทั้ง จะพัฒนาระบบร้านค้าขนาดเล็ก (Kiosk) ทั้งในและนอกประเทศให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อช่วยกระจายสินค้าในพื้นที่ต่างๆ และยังได้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่จะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อพิเศษเพื่อประชาชนและร้านค้าชุมชนเพื่อเปิดโอกาสการพัฒนา ได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและเป็นความหวังของประชาชนที่ต้องการทำธุรกิจในพื้นที่ โดยไม่ต้องเดินทางออกไปไกลเช่นที่ผ่านมา
สุดท้าย นายศุภณัฐฯ กล่าวและว่าการทำงานในครั้งนี้ ตั้งเป้าที่จะเชื่อมต่อกับนานาประเทศให้ได้ ผ่านสินค้าดี สินค้าเด่น สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมของเมืองต้นแบบ ""สามเหลี่ยมมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน"" และสินค้าฮาลาลที่สามารถซื้อขายได้คล่องขึ้น และหวังว่าสินค้าที่ผลิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เหล่านี้ จะถูกส่งต่อไปสู่มือประชากรมุสลิม 2.2 พันล้าน ทั่วโลก ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ให้ได้