เคทีซีเขย่าวงการเปิดรับชำระ QR Code Payment ด้วยบัตรเครดิต รายแรกในไทย ผ่านโมบายแอปฯ “TapKTC” ดีเดย์ 16 พฤศจิกายนนี้

จันทร์ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๗:๑๑
เคทีซีพร้อมรับชำระบัตรเครดิตผ่าน QR Code Payment เป็นรายแรกในไทย ด้วยเครือข่ายบัตรเครดิตระดับโลก รองรับการชำระเงินทั้งด้านผู้ถือบัตร (Issuer) และร้านค้าสมาชิกรับบัตร (Acquirer) หนุนสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบ มั่นใจสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไทยจะได้รับประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) จากนวัตกรรมบริการล่าสุด

นายวุฒิชัย เจริญผล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ไอที ""เคทีซี"" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ""เคทีซีได้พัฒนาเทคโนโลยีต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจและการตลาดเติบโตก้าวหน้าเพื่อรองรับการทำงานดิจิทัล ด้วยจุดมุ่งหมายให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และมีประสบการณ์ตรงที่ดีจากการใช้บริการ โดยในปีนี้เคทีซีมีความเคลื่อนไหวทางด้านไอทีหลายอย่างทั้งงานหน้าบ้านและหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการย้ายและปรับแพลทฟอร์มศูนย์ข้อมูลดาต้า เซ็นเตอร์ การปรับโฉมและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในโมบายแอปพลิเคชัน ""TapKTC"" พร้อมทั้งการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้ (Biometrics) เพื่อแสดงตัวตนครบทุกเทคโนโลยีล่าสุดและการใช้ eCoupon""

""ล่าสุดเคทีซีได้พัฒนาระบบเพื่อรองรับการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตเพิ่มเติม ผ่าน QR Code Payment บนโมบายแอปฯ ""TapKTC"" โดยได้รับการอนุมัติเข้าRegulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะให้เริ่มทดลองบริการได้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป จึงนับเป็นบัตรเครดิต รายแรกและรายเดียวที่ตอบสนองการใช้งานทั้งผู้ถือบัตรเครดิตและร้านค้าในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการขานรับนโยบายสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้าที่รับชำระ รวมถึงลดการใช้พื้นที่ในการวางเครื่องรับบัตรและด้วยความเสถียรในการรับชำระผ่านโมบายแอปฯ จึงสามารถรองรับการใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ในแง่ของลูกค้าเองนอกจากจะได้รับความสะดวกในการใช้งาน จากการใช้โมบายแอปฯ สแกน QR Code เพื่อชำระแล้ว ยังสามารถได้รับเครดิตในการชำระเช่นเดียวกับการรูดชำระด้วยบัตรเครดิตตามปกติอีกด้วย""

""QR Code Payment ที่เคทีซีจะให้บริการนั้น เป็นการนำมาตรฐานกลางของ QR Code มาใช้กับการชำระเงินทั้งทางด้านผู้ถือบัตร (Issuer) และร้านค้าสมาชิกรับบัตร (Acquirer)โดยจะสามารถรองรับการชำระเงินด้วยเครือข่ายบัตรเครดิตระดับโลกทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด และในอนาคตอันใกล้จะสามารถครอบคลุมครบทุกเครือข่ายการชำระเงินอื่นๆ อีกด้วย โดยลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตจะสามารถซื้อสินค้าและหรือบริการด้วย QR Code และทำรายการชำระได้ด้วยตนเอง (Push Payment) ซึ่งแตกต่างจากบริการรับชำระที่มีอยู่เดิมที่ทางร้านค้าจะเป็นผู้ทำรายการ (Pull Payment)""

""การชำระแบบ QR Code Payment จะช่วยลดขั้นตอนและสะดวกกว่า เพียงลูกค้าผู้ถือบัตรสแกน QR Code ของร้านค้า และทำรายการชำระผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน ""TapKTC""ง่ายๆ ตามขั้นตอน จากนั้นรายการจะถูกส่งตรงไปยังสถาบันการเงินผู้ออกบัตร (Issuer) และร้านค้าที่รับบัตร (Acquirer) เพื่อทำการอนุมัติรายการตามลำดับ โดยจะมีการแจ้งเตือน (Push Notification) เมื่อทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการสำเร็จ ผ่านทางโมบาย แอปฯ และอีเมล ในขณะที่ร้านค้าก็จะได้รับการแจ้งว่าลูกค้าทำการชำระสำเร็จแล้วผ่านทางแอปพลิเคชัน""TapKTC Merchant"" เช่นกัน""

นางสาวธิดา บุณยเลขา ผู้จัดการอาวุโส – ธุรกิจร้านค้า ""เคทีซี"" กล่าวถึงร้านค้าที่รับบัตรเครดิตผ่าน QR Code Payment ว่า ""ร้านค้าสมาชิกที่รับบัตรเครดิต (Acquirer) จะสามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตผ่าน QR Code มาตรฐานกลาง ซึ่งจะให้บริการทั้ง 2 รูปแบบผ่านโปสเตอร์และโมบาย แอปฯ ""TapKTC Merchant"" ซึ่งจะรองรับรูปแบบของ QR Code ทั้ง 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ""Static QR Code"" เป็น QR Code ที่ระบบสร้างไว้สำหรับการทำรายการได้หลายครั้ง ซึ่งข้อมูล QR Code จะเหมือนเดิมทุกครั้งที่ทำรายการชำระเงิน 2) ""Dynamic QR Code"" ข้อมูล QR Code จะถูกสร้างใหม่ทุกครั้งที่ทำรายการชำระเงิน โดยสามารถระบุจำนวนเงินลงในข้อมูล QR Code"" เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ร้านค้าสมาชิกรับบัตรที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กในการรับชำระเงิน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิคส์""

""ทั้งนี้ ในระหว่างการทดลองให้บริการตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ลูกค้าจะสามารถทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน KTC QR Code Payment ได้ใน 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ ตลาด อตก. ตลาดลุงเพิ่ม (การบินไทย) ตลาดหัวมุม เกษตร-นวมินทร์ และร้านค้าบริเวณซอยสุขุมวิท 31 และ ซอยสุขุมวิท 33 โดยร้านค้าที่เข้าร่วมในช่วงทดสอบบริการ จะเน้นไปที่ร้านค้าขนาดกลางถึงขนาดเล็กที่ยังไม่เคยรับบัตรเครดิตมาก่อน และเป็นร้านค้าที่อยู่ในหมวดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ หมวดร้านอาหาร ร้านผลไม้ ร้านขนม ร้านขายของฝาก ร้านเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องประดับ โดยเคทีซีได้รับการอนุมัติให้ทำการทดสอบการใช้งาน KTC QR Code Payment อย่างเต็มรูปแบบ กับพนักงานเคทีซีเฉพาะกลุ่ม (Internal Soft Launch) โดยจำกัดพื้นที่ทดสอบเพียง 3 ร้านค้า เพื่อควบคุมการให้บริการทั้งด้านลูกค้าและร้านค้า ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา""

นายวุฒิชัย กล่าวปิดท้ายว่า ""เคทีซีหวังว่าบริการ QR Code Payment จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์โดยองค์รวม ทั้งในแง่ผู้บริโภค ตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนรุ่นใหม่เพียงใช้สมาร์ทโฟนที่ติดตัวสแกน QR Code ก็สามารถชำระเงินได้ เพิ่มความปลอดภัยของการใช้บัตรเครดิต เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องให้ข้อมูลบัตรกับร้านค้าอีกต่อไป และยังสามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าหรือบริการได้หลากหลายมากขึ้นที่ร้านค้าขนาดกลางถึงขนาดเล็กที่ไม่เคยรับบัตรเครดิตมาก่อน สำหรับผู้ประกอบการร้านค้า จะช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดทั้งด้านธุรกิจบัตรและร้านค้ารับบัตรเครดิต ช่วยให้ร้านค้าขนาดกลางถึงขนาดเล็กเพิ่มโอกาสในการขายและให้บริการด้วยช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายขึ้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อภาพรวมของประเทศ ในการร่วมกันผลักดันประเทศไทยไปสู่ National e-Payment และไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย""

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ