ไมโครชิพ เปิดตัว MCU 8 บิตรุ่นใหม่ มาพร้อม Core Independent Peripheral โดยพัฒนาเรื่องการตอบสนองการทำงานระบบ CAN

อังคาร ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๑:๐๑
ผลิตภัณฑ์ตระกูล PIC18 K83 ช่วยให้การออกแบบงานในระบบ CAN ทั้งง่ายและคุ้มค่ายิ่งขี้น

บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เดินหน้าขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ PIC18 อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เพิ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) 8 บิตรุ่นใหม่ ที่ผสมผสานการทำงานระหว่าง Controller Area Network (CAN) Bus เข้ากับชุดอุปกรณ์ Core Independent Peripherals (CIPs) ที่มีความครอบคลุม โดย CIPs จะเพิ่มความสามารถของระบบ และลดภาระของนักออกแบบในการสร้างสรรค์งานในระบบ CAN โดยไม่ต้องเพิ่มความยุ่งยากในเรื่อง software ทั้งนี้ ไมโครชิพเปิดจำหน่ายอุปกรณ์ PIC18 K83 สองรุ่นใหม่แล้ววันนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microchip.com/k83

ข้อได้เปรียบที่สำคัญจากการใช้ MCU K83 ในระบบ CAN คือมี CIPs ที่สามารถตอบสนองในเชิงกำหนดต่อการทำงานแบบ real time ลดระยะเวลาในการออกแบบ และกำหนดค่าได้อย่างง่ายดายโดยการใช้ MPLAB(R) Code Configurator (MCC) ผลิตภัณฑ์ตระกูลใหม่เหมาะสำหรับงานที่ใช้ระบบ CAN ในทางการแพทย์ อุตสาหกรรม และยานยนต์ อาทิ เตียงผ่าตัดติดตั้งมอเตอร์ การติดตามทรัพย์สิน เครื่องอัลตราซาวด์ สายพานอัตโนมัติ และอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักออกแบบระบบในแง่ของการประหยัดเวลาสร้างสรรค์งานให้สำเร็จลุล่วง เนื่องจากสามารถกำหนดค่าอุปกรณ์เสริมที่เป็นฮาร์ดแวร์ได้ง่ายกว่าเดิมมาก แตกต่างกับการเขียนและการตรวจสอบซอฟต์แวร์

สตีฟ เดรฮอบล์ รองประธานธุรกิจ MCU 8 บิตของไมโครชิพ กล่าวว่า "การกำหนดค่า MCU ด้วยการคลิกภายใน MCC เพียงไม่กี่คลิก จะพลิกโฉมแนวทางการออกแบบบนระบบ CAN เพราะ CIPs ในไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล K83 ช่วยให้การใช้ระบบการสื่อสาร, Intelligent Analog ตลอดจนฟีเจอร์ใช้การทำงาน feature อื่นๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยชุดเครื่องมือชุดเดิมที่มีอยู่ในไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC(R) รุ่นอื่นๆ"

อุปกรณ์ PIC18 K83 ประกอบด้วย CIPs ที่ช่วยลดเวลาการทำงานโดย 15 ส่วน อาทิ Cyclic Redundancy Check (CRC) ที่สามารถสแกนหน่วยความจำเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยความจำถาวร, Direct Memory Access (DMA) ทำให้สามารถโอนถ่ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำและอุปกรณ์เสริมโดยไม่ต้องใช้ CPU, Windowed Watchdog Timer (WWDT) ที่กระตุ้นการรีเซ็ตระบบ, Analog-to-Digital Converter with Computation (ADC2) ขนาด 12 บิต ช่วยให้วิเคราะห์สัญญาณแอนะล็อกด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการตอบสนองแบบเรียลไทม์ และ Complementary Waveform Generator (CWG) ซึ่งสร้างสวิทชิ่งแบบซิงโครนัสเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการควบคุมมอเตอร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CIPs ทั้งหมดได้ที่ ศูนย์ออกแบบ MCU 8 บิต

การสนับสนุนการพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้สนับสนุนการพัฒนาโดย MPLAB Code Configurator (MCC) ซอฟต์แวร์ plug-in ที่เปิดให้ใช้งานฟรี โดยมีหน้าต่างในรูปแบบกราฟิกที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปกำหนดค่าอุปกรณ์เสริมและฟังก์ชั่นโดยเจาะจงไปที่งานของตนเองได้ MCC ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาของไมโครชิพ ได้แก่ MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) ที่พร้อมให้ดาวน์โหลด และ MPLAB Xpress IDE ที่ให้บริการผ่านคลาวด์ ผลิตภัณฑ์ตระกูลนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาโดย Curiosity High Pin Count (HPC) Development Board (p/n: #DM162136) ด้วยเช่นกัน

การวางจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสองรุ่น ได้แก่ PIC18F25K83 ซึ่งมาพร้อมหน่วยความจำแฟลชขนาด 32 KB และ PIC18F26K83 พร้อมหน่วยความจำแฟลชขนาด 64 KB มีจำหน่ายแล้ววันนี้ โดยสามารถขอรับผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและสั่งผลิตขั้นต่ำที่ 10,000 ชิ้นสำหรับแต่ละรุ่น ซึ่งมาในแพ็กเกจ 28-pin SPDIP, SOIC, SSOP, UQFN และ QFN

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายจากไมโครชิพหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของไมโครชิพ และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่ microchipDIRECT ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายออนไลน์ที่ใช้งานง่ายของไมโครชิพ หรือติดต่อตัวแทนจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ

แหล่งข้อมูลและภาพ

สามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):

- ภาพประกอบข่าวประชาสัมพันธ์: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/23945890218/sizes/l

- ภาพชิป: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/37088982634/sizes/l

เกี่ยวกับไมโครชิพ เทคโนโลยี

บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหา Solution ของไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรรวมแบบผสมสัญญาณ แอนะล็อก และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาการออกแบบและพัฒนาของลูกค้าในตลาดทั่วโลกกว่าพันราย สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com

หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ The Microchip, โลโก้ Microchip, MPLAB และ PIC เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เครื่องหมายการค้าอื่นๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

Daphne Yuen (Microchip): (+852) 2943 5115

(อีเมล: [email protected] )

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171026/1976019-1

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย