ที่เข้าร่วมโครงการ 500 คน ได้นำผลของการอบรมมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ส่งผลทำให้เกิดการเรียนรู้แบบActive Learning หรือการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์นักศึกษาในปัจจุบัน ตอบโจทย์พฤติกรรมนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้มาก
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า สำหรับสถาบัน Smart teacher Academy ที่จะเกิดขึ้นนี้ จะพัฒนาคณาจารย์ในกลุ่ม9 ราชมงคล เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา และอาจรวมไปถึงระดับประถมศึกษา โดยใน 2 กลุ่มนี้มหาวิทยาลัยจะส่งอาจารย์ที่ผ่านการอบรมไปอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ ซึ่งที่ผ่านมามีอาจารย์จากภายนอกขอเข้ารับการอบรมไปบ้างแล้ว ขณะเดียวกันสถาบันดังกล่าวยังจะเป็นแหล่งวิจัยการเรียนการสอน โดยนำเคสต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปวิจัย เพื่อจะได้รู้ว่าควรจะทำอย่างไรให้การเรียนการสอนไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทั้งครูและนักเรียน
""ต้องยอมรับว่า การเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในห้องเท่านั้น นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในห้องและนอกห้องเรียน โดยครู อาจารย์มีหน้าที่เป็นโค้ช ซึ่งการส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการ ทำให้เข้าใจว่า ว่าการเรียนการสอนที่ปฏิรูปการศึกษาแท้จริง นอกจากปฏิรูปหลักสูตรแล้วต้องปฏิรูปการเรียนการสอนและการประเมินด้วย โดยการเรียนการสอนมุ่งทำกิจกรรมร่วมกันไม่ใช่ให้เด็กมาฟัง หรือเรียนจาก Power Point แต่เด็กต่างคณะสามารถทำโครงงานร่วมกันซึ่งวิธีเหล่านี้ตอบโจทย์ช่วยให้เด็กเรียนรู้มากกว่าหลักสูตรทำให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างแท้จริง"" รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าว