"เจ้อเจียง" เดินหน้าจับมือมหาวิทยาลัยระดับโลก ยกระดับการศึกษาสู่ยุคโลกาภิวัตน์

จันทร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๙:๓๕
เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงวิทยาเขตนานาชาติเปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อประมาณ 1 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ Philip T. Krein จากสถาบัน American Academy of Engineering ได้เดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (ZJU) ซึ่งมีสมญานามว่าเป็น "มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งตะวันออก" ณ ประเทศจีน ในฐานะคณบดีของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง/มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (IUIC) แห่งสถาบันเออร์บานา-แชมเปญ (สถาบัน ZJU-UIUC)

สถาบันร่วมดังกล่าวได้รับการจัดตั้งขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง วิทยาเขตนานาชาติไห่หนิง ซึ่งในฐานะการศึกษาข้ามชาติรูปแบบใหม่ ทางสถาบันจะจัดการศึกษาด้านวิศวกรรมระดับโลกโดยใช้หลักสูตรและทรัพยากรจากมหาวิทยาลัย IUIC และ ZJU อย่างเท่าเทียมกัน

สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวหางโจวซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีบนพื้นที่ประมาณ 80 เฮกเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องทดลองวิทยาศาสตร์ข้อมูลประยุกต์ร่วมระหว่าง ZJU และมหาวิทยาลัย Imperial รวมถึงสถาบัน ZJU-UoE (มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ) ด้วย ทั้งนี้ จากแผนพัฒนาพื้นที่อ่าวหางโจวให้เป็นแหล่งขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเศรษฐกิจ หรือเป็นพื้นที่อ่านซานฟรานซิสโกเวอร์ชั่นจีนของภาครัฐบาล ส่งผลให้วิทยาเขตใหม่ของ ZJU แห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ศาสตราจารย์ซ่ง หย่งหัว รองประธานฝ่ายบริหารของ ZJU และคณบดีผู้ก่อตั้งวิทยาเขตนานาชาติ เปิดเผยว่า "การก่อสร้างวิทยาเขตนานาชาติแห่งใหม่ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการขับเคลื่อน ZJU สู่สากล ซึ่งหลังจากที่ได้ฝึกฝนด้านการจัดการสถาบันนานาชาติมาเป็นเวลาหลายปี ZJU พัฒนา "กลยุทธ์ 4S ระดับโลก" ขึ้นในปี 2556 ซึ่งมีความโดดเด่นและเปี่ยมประสิทธิภาพ อันประกอบด้วย "กลยุทธ์" "ความแข็งแกร่ง" "ความยั่งยืน" และ "มุ่งเน้นด้านบริการ" ทั้งนี้ "กลยุทธ์ 4S ระดับโลก" จะเป็นกรอบทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อผลักดัน ZJU สู่สากล ในขณะเดียวกันก็มีการนำสิ่งดี ๆ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกมาปรับใช้ภายใต้บรรทัดฐานใหม่ของจีนด้วย

ZJU เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของจีนที่กำลังก้าวสู่ความเป็นสากล โดยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ การนำกลยุทธ์ระดับชาติต่าง ๆ อย่าง "การยกระดับประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และการศึกษา" และ "การพัฒนาประเทศโดยใช้บุคลากรที่มีความสามารถ" มาใช้ ควบคู่ไปกับการมุ่งสู่เวทีแห่งการศึกษาขั้นสูงระดับโลกผ่านการสนับสนุนครั้งล่าสุดของรัฐบาลในโครงการ Double First-Class Initiative ทำให้การศึกษาระดับสูงของจีนมีรูปแบบการเปิดกว้างและการพัฒนารูปแบบใหม่เกิดขึ้น

อนึ่ง จีนเป็นประเทศที่ผลิตนักเรียนจำนวนมากเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ขณะที่ชาวต่างชาติกลับต้องการเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ประเทศจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนำไปสู่การก้าวสู่ความเป็นสากลในแง่ของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับสูงขึ้น โดยในปี 2559 จำนวนนักเรียนจีนที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศนั้นอยู่ที่ 545,000 ราย ครอบคลุมกว่า 180 ประเทศและภูมิภาค ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ผลิตนักเรียนเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศมากที่สุด และในปีเดียวกันนี้ มีนักเรียนต่างชาติเข้ามาศึกษาในประเทศกว่า 443,000 คน ทำให้จีนกลายเป็นจุดหมายอันดับแรกในเอเชีย ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังแสดงให้เห็นถึงศักยาภาพในการดึงดูดคนที่มีความสามารถจากประเทศต่าง ๆ ด้วยจำนวนนักเรียนจีนที่หวนกลับคืนสู่ประเทศหลังจบการศึกษาในต่างแดนสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492

ณ สิ้นสุดปี 2559 มีนักเรียนจีนกลับคืนสู่ประเทศกว่า 2.65 ล้านคน

สำหรับ ZJU นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี 2440 โดยเป็นหนึ่งในสถานศึกษาขั้นสูงที่ทันสมัยแห่งแรก ๆ ที่ก่อตั้งโดยจีนเอง หลังจากการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 120 ปี ZJU ได้กลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอันดับต้นของจีน จากข้อมูลของ Essential Science Indicator (ESI) ในเดือนพ.ย. 2560 ระบุว่า ZJU อยู่ในอันดับท็อป 1% ใน 18 สาขาวิชา และอยู่ใน 50 อันดับแรกของโลกใน 5 สาขาวิชา นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในจีน

จีนกำลังเติมเต็มทรัพยากรด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งเมื่อนับถึงปีที่แล้ว จีนสถาปนาความร่วมมือด้านการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยนกับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ รวม 188 แห่ง แบ่งเป็นความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษากับองค์กรระหว่างประเทศ 46 แห่งและการลงนามความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับต่าง ๆ กับอีก 47 ประเทศและภูมิภาค รวมถึงสถาบันการศึกษาและโครงการที่ดำเนินการร่วมกันในต่างประเทศซึ่งได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศจีนอีก 2,480 รายการ

เมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ZJU ได้จัดตั้งรูปแบบความร่วมมือที่แตกต่างกันกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษากว่า 170 แห่งใน 34 ประเทศจาก 5 ทวีป โดยในปีที่แล้ว นักศึกษาจาก ZJU กว่า 4,800 ชีวิตได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีนักศึกษานานาชาติกว่า 3,400 ชีวิตเข้าเรียนที่วิทยาเขตต่าง ๆ ของ ZJU ด้วย

ศาสตราจารย์ Krein แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศจีนว่า มนุษยชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ถาโถมเข้ามาจากความเป็นโลกาภิวัตน์ ทว่าในขณะเดียวกัน โลกาภิวัฒน์ก็ได้มอบโอกาสด้านความร่วมมือในแง่ของการศึกษาระดับสูงในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งบรรดานักศึกษาจะมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถอันเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ รังสรรค์อนาคต และสามารถตอบสนองความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงความก้าวหน้าทางสังคมได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ผ่านความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน

ที่มา: มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (ZJU)

ลิงค์ภาพประกอบ: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=301157

AsiaNet 71115

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version