กยท. ลั่น ยังคงปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ พ.ร.บ. กยท. พ.ศ.2558

อังคาร ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๖:๐๕
เมื่อเร็วๆ นี้ มีสื่อนำเสนอประเด็นการปฏิรูปการจัดการตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.กยท.พ.ศ.2558 โดยมีเนื้อหาอ้างถึงสาเหตุราคายาง และการเสนอหาทางออก ในฐานะที่ กยท.เป็นองค์กรหลักในการดูแลบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ ชี้ เหตุผล หวังให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อข้อมูล

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านบริหาร กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนของบางพื้นที่ เกษตรกรชาวสวนยางจะกรีดยางได้น้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ราคายางจะปรับสูงขึ้น เพราะยังมีผลผลิตในภาคอื่นๆ ของประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศผู้ปลูกยางรายใหม่ เช่น กัมพูชา อินเดีย หรือ เวียดนาม ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นปกติ ฉะนั้น ฝนตกไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่จะทำให้ราคายางปรับตัว ยกเว้นกรณีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อปริมาณและความต้องการใช้ยาง เช่น ช่วง ธ.ค.59 – ก.พ. 60 หลายพื้นที่ภาคใต้ประสบน้ำท่วมเป็นเวลานาน เป็นต้น ที่สำคัญ ราคายาง ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกอย่างจีน สหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อการซื้อขายเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการเก็งกำไร และความกังวลของนักลงทุนในตลาดล่วงหน้าที่ ส่งผลให้เกิดการชะลอซื้อ และกระทบต่อราคายางทั้งในตลาดล่วงหน้า ตลาดซื้อขายจริงในประเทศให้ปรับตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลข่าวเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อราคายางด้วยเช่นกัน ทุกภาคส่วนจึงต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง มีแหล่งอ้างอิงและตรวจสอบได้

"ทุกวันนี้ กยท. ได้เดินหน้า ขับเคลื่อนให้การสนับสนุนเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนผู้ประกอบกิจการยาง ตาม พ.ร.บ. กยท. พ.ศ.2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดเงินสนับสนุนเพื่อเป็นสวัสดิการให้พี่น้องชาวสวนยาง ไม่ว่าจะเป็นกรณีสวนยางประสบภัยธรรมชาติ เสียชีวิต และบรรเทาความเดือดร้อนโดยมีตัวแทนเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ปัจจุบันมูลค่าที่ใช้จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการชาวสวนยาง รวมทั้งสิ้น31,619,500 บาท (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 27 ต.ค. 60)" รอง ผวก. กยท. กล่าว

นายสุนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาครัฐมีกระบวนการตรวจสอบสต๊อกยางตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 แต่การจำกัดปริมาณส่งออกยางซึ่ง กยท.เคยให้ข้อมูลไปแล้วว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ITRC มีความเห็นร่วมกันว่า มาตรการนี้ จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อสภาวะราคาปรับลดลงในระดับหนึ่ง โดยมีการเอ็กซเรย์สถานการณ์ราคายางอย่างใกล้ชิด หากมีความผันผวนผิดปกติ จะรีบเชิญประเทศสมาชิกประชุมเร่งด่วนร่วมกันเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป ส่วนกรณีการส่งเสริมใช้ยางในประเทศ นำร่องโดยหน่วยงานรัฐ ด้วยการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี ในการนำยางพาราไปใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่ายาง ขณะนี้ มีหลายหน่วยงานภาครัฐที่เสนอและจัดสรรงบประมาณในการนำยางไปใช้ ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลา แต่มั่นใจว่า ขณะนี้ ทุกภาคส่วนได้รับนโยบาย เพื่อให้เดินหน้าใช้ยางอย่างเต็มที่

"นอกจากนี้ อัตราค่าธรรมเนียมส่งออกยางแบบคงที่ ไม่กระทบต่อราคายาง แต่ในทางกลับกันจะเป็นการ ทราบต้นทุนที่แท้จริงในการส่งออกยางของผู้ประกอบกิจการยาง ไม่ต้องเก็งกำไร ไม่ต้องกดราคาต้นทุน เป็นผลดีต่อเกษตรกรจะขายผลผลิตในราคาตามคุณภาพยางจริง"

นายสุนันท์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับประเด็นข่าวยางแลกปุ๋ยนั้น ไม่เป็นความจริง ทาง กยท. ไม่มีนโยบายดำเนินโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้บริหาร กยท. ยินดีให้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปเผยแพร่ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero