ติวเข้ม พนง. ตรวจแรงงาน 22 จว. ทะเล บังคับใช้ กม. คุ้มครองสิทธิลูกจ้างประมง

พฤหัส ๒๓ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๔:๐๕
ก.แรงงาน จับมือ ILO ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เสริมความเข้มแข็งการตรวจแรงงานและการกำกับดูแลกิจการประมงและแปรรูปอาหารทะเล แก้ไขปัญหาแรงงาน ขจัดการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการตรวจแรงงานและการกำกับดูแลกิจการประมงและแปรรูปอาหารทะเล โครงการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล (Ship to Shore Rights) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกท ว่า รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีอย่างจริงจัง ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อให้การดำเนินการและบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้การลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารการจ้างงานดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม 2561 พร้อมจัดระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าวอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ได้รับสิทธิและความคุ้มครองที่เป็นธรรม รวมทั้งได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เมื่อมีฐานข้อมูลเดียวกันแล้วแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถเข้ามาใช้งานด้วยกันได้ อาทิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้ขับเคลื่อนการดำเนินการในทุกมิติเพื่อปรับปรุงยกร่างกฎหมาย ฉบับที่ 29 ว่าด้วยการต่อต้านแรงงานบังคับ และฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วย

การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้ให้กับพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ติดทะเล 22 จังหวัด ได้มีหลักวิธีคิดในการตรวจแรงงาน สร้างโอกาสให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของการทำงานของตนเอง สามารถนำหลักวิธีการทำงานไปปรับใช้ในกระบวนการตรวจแรงงาน และร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวความคิดไปสู่การบังคับใช้กฎหมายแรงงานเพื่อให้การปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวเป็นที่ยอมรับของนานาชาติด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ