พพ. ขยายเวลารับสมัคร โครงการสนับสนุนเงินลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร

อังคาร ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๗:๑๑
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ. ได้ขยายเวลารับสมัคร "โครงการสนับสนุนเงินลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปี2560" ไปจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานและอาคารควบคุมเอกชน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการเกษตรกรรมทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ในรายละเอียด พพ. จะให้การสนับสนุนการลงทุนแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนในการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรทดแทนของเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะให้เงินลงทุนสนับสนุน 20-30% ซึ่งจะสนับสนุน 20% สำหรับโรงงานและอาคารควบคุมเอกชน และสนับสนุน 30% สำหรับ SMEs วิสาหกิจชุมชนรวมถึงผู้ประกอบการเกษตรกรรมในวงเงินสนับสนุนสูงสุด 1,500,000 บาทต่อรายและต้องเป็นมาตรการที่มีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 7ปี

สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โทร. 02 223 0021-9 ต่อ 1547 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=45710

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ