สรุปผล โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy)

ศุกร์ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๐:๐๕
กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผนึกมูลนิธิอาคารเขียวไทย เผยความสำเร็จโครงการสร้างเมืองอัจฉริยะ จัดสัมมนา "สรุปผลโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy)" โดย รมว.พลังงานให้เกียรติปาฐกถาพิเศษ ในประเด็น "ก้าวต่อไปของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย" เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเมืองอัจฉริยะเพื่อนำไปต่อยอดการสร้างเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา"สรุปผลโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy)" และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในประเด็น "ก้าวต่อไปของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย" มีใจความสำคัญว่า ปัจจุบันจำนวนประชากรไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการโยกย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มากขึ้น ทำให้เมืองมีขนาดใหญ่และซับซ้อนกว่าอดีต จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีสังคมและเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบการขนส่งและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชากรมีสุขพลานามัยที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ สะดวก สะอาด ปลอดภัย รองรับสังคมที่จะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในอนาคต

กระทรวงพลังงาน มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในระยะแรกได้จัดให้มีโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ ซึ่งได้รับการตอบสนองจากนักพัฒนาเมืองในทุกระดับเป็นอย่างดี ทุกเมืองที่ส่งแนวคิดเข้าร่วมโครงการ เป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมและควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้จริงทั้งหมด หกเมืองที่สามารถผ่านเข้ามาถึงขั้นตอนสุดท้าย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะพัฒนาและดำเนินโครงการให้สำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงพลังงานจึงมี นโยบายที่จะส่งเสริมให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 4 ด้าน คือ 1. ด้านพลังงานและสาธารณูปโภคพื้นฐาน พิจารณาส่งเสริมการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในเมืองอัจฉริยะ การส่งเสริมให้ดำเนินการระบบ Micro-grid การพิจารณาส่งเสริมการส่งจ่ายและจำหน่ายไฟฟ้าภายในโครงการโดยให้ภาคเอกชนสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้าเองได้ การส่งเสริมการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การส่งเสริมการเดินทางโดยพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมให้เมืองอัจฉริยะสามารถผลิตและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพ (Physical Infrastructure) และโครงสร้างด้านดิจิตอล (Digital Infrastructure) ได้เองภายในขอบเขตของเมือง 2. ด้านผังเมืองและการขนส่ง พิจารณาการจัดรูปผังเมืองเฉพาะสำหรับเมืองอัจฉริยะ เพื่อลดข้อจำกัดในการใช้พื้นที่สำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสามารถจัดผังเมืองที่ส่งเสริมให้ใช้พลังงานน้อยลงในการเดินทาง หรือ เดินหรือขี่จักรยาน ซึ่งไม่ต้องใช้พลังงานในการเดินทางได้โดยสะดวก รวมทั้งพิจารณาส่งเสริมให้เมืองอัจฉริยะสามารถให้บริการระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองของตนเอง โดยจะให้ความสำคัญกับระบบพลังงานสะอาดเป็นหลัก 3. ด้านชุมชนเมือง สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย สุขภาพ การป้องกันภัยพิบัติ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ทุพลภาพ ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ ภายในเมืองอัจฉริยะ ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้สิทธิ หรือ สวัสดิการพิเศษสำหรับผู้อยู่อาศัย หรือ ทำงานในเมืองอัจฉริยะ กำหนดทิศทางให้เมืองอัจฉริยะเป็นแหล่งเรียนรู้ สถานที่พักผ่อน และท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว 4. ด้านการบริหารจัดการเมือง ส่งเสริมให้มีระบบการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะเพื่อให้เมืองคงความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยในการบริหารจัดการและต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ โดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีสถาบันอาคารเขียวไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อกระตุ้นและให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ในการออกแบบและพัฒนาเมือง หรือโครงการในลักษณะชุมชนเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะ โดยโครงการที่ผ่านการพิจารณามี 6 โครงการดังนี้ โครงการมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย นิด้า โครงการ มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด โครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ โครงการต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และโครงการวิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน โครงการขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง ซึ่งโครงการทั้งหมดนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นได้ในประเทศของเราต่อไป

นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานสถาบันอาคารเขียวไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ "Smart City" จะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมเชิง สร้างสรรค์ ตลอดจนจะเป็นการบ่มเพาะให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม