“บิ๊กป้อม” กำชับ! ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๑ ปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

จันทร์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๕:๕๑
รองนายกฯ ประวิตร เน้นย้ำในที่ประชุม กนร. ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ต้องไม่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการประชุม ซึ่งในครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณา การจัดระบบฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ที่แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ แรงงานต่างด้าวทำงานในกิจการประมงทะเลและกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ กลุ่มที่ ๒ แรงงานที่ผ่านการตรวจสอบคัดกรองความสัมพันธ์นายจ้าง – ลูกจ้าง (กลุ่มตามคำสั่ง คสช. ที่ ๓๓/๒๕๖๐) และกลุ่มที่ ๓ แรงงานต่างด้าวที่ถือบัตรประจำตัวผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจในการกำหนดเลขประจำตัว ๑๓ หลัก ให้กับแรงงานต่างด้าว

โดยพลเอกประวิตรฯ ได้สั่งการต่อที่ประชุมฯ ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับประเทศต้นทางในการเร่งตรวจสัญชาติให้กับแรงงาน เพื่อสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองที่แรงงานจะได้รับเมื่อผ่านการตรวจสัญชาติเรียบร้อยแล้ว ๒. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบ เพื่อให้การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ในด้านบวกของประเทศไทยในระดับสากล ๓. ให้กระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้นายจ้าง แรงงาน และประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และเกิดความรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้หมดสิ้น โดยภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ จะต้องไม่มีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายอีกต่อไป และในการบริหารจัดการควรมีฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวฐานเดียวที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะพิจารณาการจ้างงานแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละกลุ่มอาชีพ หากสถานประกอบการหรือนักลงทุนมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่ม จะต้องดำเนินการในรูปแบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) หรือการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศดำเนินการร่วมกัน (MOU) "ทั้งนี้ เราต้องให้ความสำคัญกับแรงงานไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัจจุบันมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สามารถวางแผนส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำเพิ่มมากขึ้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อให้คนไทยได้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี" นายจรินทร์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ