การวิจัยของไอเอฟเอสพบผู้ผลิตกำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันการเติบโตด้วยแนวทางการบริการภิวัฒน์

จันทร์ ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๕๘
จากการศึกษาทั่วโลกยังพบด้วยว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่กำลังเริ่มใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมออกสู่ตลาดให้เร็วกว่าเดิม

ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร เปิดเผยผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้กำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตในเชิงพาณิชย์ด้วยแนวทางด้านการบริการภิวัฒน์ แต่กระนั้นปัญหาด้านการขาดแคลนทักษะ การกลัวและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และการไม่ค่อยเต็มใจให้ความร่วมมือกับบริษัทภายนอกถือเป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างมาก

การบริการภิวัตน์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากการผลิตสินค้าไปสู่การสร้างบริการใหม่ๆ ผ่าน "บริการภิวัฒน์" (Servitization) เป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแนวทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) โดย 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าบริการภิวัฒน์ "เป็นที่ยอมรับและให้ผลตอบแทนที่ดี" และ "อยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากผู้บริหาร" แต่ก็มีเกือบ 1 ใน 3 ของบริษัทผู้ผลิตที่ได้รับประโยชน์จากบริการภิวัฒน์

"บริการภิวัฒน์ของภาคการผลิตกำลังได้รับการผลักดันบางส่วนจากแรงกดดันด้านการแข่งขัน และจากลูกค้าที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและต้องการได้รับทุกสิ่งทุกอย่างให้เร็วยิ่งกว่าเดิม" นายแอนโทนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวและว่า "ผู้ผลิตที่ยังไม่ได้ใช้โมเดลที่มีบริการเป็นศูนย์กลางกำลังสูญเสียรายได้และแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาข้อเสนอสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ดังนั้นเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและความต้องการที่กำลังเพิ่มมากขึ้น บรรดาผู้ผลิตจะต้องร่นระยะเวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ครอบคลุมตั้งแต่การนำความคิดจากการออกแบบไปผลิตเป็นสินค้าและนำออกขายในตลาดให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าวได้"

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นว่าการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นแนวทางหลักที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มองว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกการเติบโตทางการค้าได้อย่างเห็นผล โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า "การกระตุ้นนวัตกรรมให้เกิดเร็วขึ้น" เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (ในสัดส่วนที่มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ) ขณะที่การสร้างความแตกต่างด้านการแข่งขัน (32 เปอร์เซ็นต์) ก็ยังติดปัจจัยห้าอันดับแรกของอุตสาหกรรมแห่งนี้ด้วย แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองประเด็นนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับปัจจัยทั่วไปที่ช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต นั่นคือ "ประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานภายใน" (40 เปอร์เซ็นต์) และ "การประหยัดค่าใช้จ่าย" (33 เปอร์เซ็นต์)

อุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างเต็มที่

อุตสาหกรรมการผลิตกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมากเพื่อเร่งการเติบโต โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุสถานะการปรับใช้เทคโนโลยีของตนว่า "ใช้งานแล้ว" (enabled), "กำลังสำรวจตรวจสอบ" (exploratory) หรือ "เพิ่มระดับการใช้แล้ว" (enhanced) และไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวที่กำลังอยู่ในช่วง "ตั้งไข่" บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่แถวหน้าของการปรับใช้เทคโนโลยี โดย 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าสถานะของตนว่า "เพิ่มระดับการใช้แล้ว" (enhanced) หรือ "ได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้ว" (optimized) ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) (29 เปอร์เซ็นต์) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) (21 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต 84 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพวกเขาคิดว่าได้ลงทุน 'เพียงพอ' หรือ 'ได้ประโยชน์แล้ว' ซึ่งมีสัดส่วนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ 12 เปอร์เซ็นต์ยังระบุด้วยว่าเงินลงทุน 'มากเกินไป' ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พบในในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่าบริษัทผู้ผลิตไม่ได้จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพหรือคุ้มค่ากับเงินที่ลงไป

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายทางวัฒนธรรมที่อาจขัดขวางความพยายามด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดกว้างและความเต็มใจที่จะแบ่งปันกับบริษัทภายนอกองค์กร โดยเกือบ 1 ใน 3 (31 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าต้องการเพิ่มความร่วมมือในการทำงาน และระบุด้วยว่า "การบริหารหลังการขาย/การประมาณการ", "ซัพพลายเชน" และ "การบริหารจัดการด้านการขาย/การประมูล" เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ 57 เปอร์เซ็นต์ยังแจ้งด้วยว่าองค์กรของตนมีการบูรณาการทำงานภายในและสามารถทำงานข้ามแผนกได้อย่างแข็งแกร่งมาก ขณะที่การทำงานร่วมกับบริษัทภายนอกดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่มมากขึ้น

การขาดแคลนทักษะความสามารถ

บริการภิวัฒน์นำเสนอโอกาสใหม่ๆ ของงานสำหรับพนักงานภาคการผลิตที่ปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นงานเฉพาะด้านการผลิตเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 4 (23 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการขาดทักษะและความสามารถเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเทคโนโลยี เอไอ หรือหุ่นยนต์ และระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI) ถือเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น องค์กรด้านการผลิตมีโอกาสอย่างมากที่จะนำบริการภิวัฒน์และการเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรในที่ทำงานมาสร้างงานใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ โดย 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานระบุว่าการกลัวหรือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

อย่างไรก็ตาม 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อเพิ่มความสามารถที่มีอยู่เดิม ขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ก็กำลังมองหาการจ้างงานจากภายนอกด้วย

การขาดข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ได้รับการระบุว่าเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลอันดับหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องลงทุน แต่มีเพียง 1 ใน 4 (26 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้นที่กำลังใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อช่วยให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ทราบวิธีหาสร้างมูลค่าจากข้อมูลที่ตนมีอยู่ โดย 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาเพิ่ง "เริ่มต้นใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล และพบว่าสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เปรียบในด้านการแข่งขัน"

การเดินหน้าผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้น

ทั้งนี้มีสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าบริษัทผู้ผลิตกำลังนำเอาระบบการทำงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้ชื่อว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมได้สูงสุด และยังพบแนวทางใหม่ๆ ในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อีกด้วย กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (55 เปอร์เซ็นต์) ได้เปลี่ยนไปใช้การผลิตระบบอัจฉริยะแล้ว และยังมีอีก 26 เปอร์เซ็นต์ที่คาดว่าจะดำเนินการดังกล่าวภายในสองปี หากต้องการนำหน้าในการแข่งขัน บริษัทต่างๆ จะต้องเร่งการปรับใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และบริษัทภายนอกสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ด้วยการเติมเต็มทักษะและทรัพยาการที่มีความจำเป็นอย่างมาก ผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมการผลิต 81 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า "ผู้จำหน่ายที่เป็นบริษัทภายนอกที่ตนใช้บริการอยู่ในปัจจุบันพร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลในอนาคตแล้ว" โดยรายงานแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตเห็นว่าบริษัทภายนอกมีบทบาทสำคัญในด้าน "การปรับเปลี่ยนหน่วยงานและองค์กรให้เป็นดิจิทัล", "การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการรายงาน" และ "กลยุทธ์ทางดิจิทัล"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ