ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก นับเป็นจุดเด่นที่เชื่อมั่นได้ว่าองค์กรให้ความสำคัญด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง และพีไอเอ็มในฐานะภาคการศึกษาที่มีองค์ความรู้ทั้งทางวิชาการสั่งสมอยู่จำนวนมาก รวมถึงจุดแข็งด้านจัดการศึกษาในรูปแบบ Work-based Education ที่หล่อหลอมหลักสูตรผ่านระบบการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ภายใต้การแข่งขัน Smart Store Solution สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับปริญญาตรีและโท และคณะวิชาอื่นๆ ที่สนใจ กว่า 50 คน จากการสนับสนุนทุนการศึกษา และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทดสอบโซลูชั่น รวมมูลค่ากว่า 7 แสนบาทแล้ว หัวเว่ยยังสนับสนุนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในสาขาอาชีพ ทั้งจากบริษัทหัวเว่ย และบริษัทโกซอฟท์ ในฐานะพันธมิตรด้านการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้กับนักศึกษา สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แก้ปัญหา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรม โดยทีมรางวัลชนะเลิศได้แก่ "อ้ายมาสองคน" กับชิ้นงาน เครื่องตัดจ่ายไส้กรอกอัตโนมัติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 3 ทีม ได้แก่ ทีม Reaction ชื่อชิ้นงาน Smart Cleaning Bin , ทีม Hot Head กับชิ้นงานม่านเบียร์อัตโนมัติ และทีม Big Boss กับชิ้นงานถึงเวลาเติม Vault , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม VR AME , ทีม Far Man, ทีม Common Sense, ทีม 4G และ ทีม Please us Pass.
ทั้งนี้หัวเว่ยได้จัดอุปกรณ์ IOT Gateway ให้นักศึกษาสามารถใช้ทดสอบโซลูชั่นภายในระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้นักศึกษาเป็นนักนวัตกรรม นักประดิษฐ์ ที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ Huawei Open Lab Bangkok ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการนำร่องในระยะแรกจะมุ่งเน้นเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างร้านสะดวกซื้อให้เป็น Smart Store ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลอดจนการบริการของทางหน้าร้านต่อไป