โครงการ “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๐ ภายใต้แนวคิด“ประเทศไทย: อรุโณทัยแห่งจินตนาการ”

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๓๙
มูลนิธิบัวหลวง ร่วมกับ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประกาศผลผู้ชนะรางวัลโครงการ "ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑" ครั้งที่ ๑๐ ภายใต้หัวข้อ "ประเทศไทย : อรุโณทัยแห่งจินตนาการ" เมื่อวันที่ ๒๗ พย ที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ตัดสินชี้ผลงานของเหล่าเยาวชนในปีนี้มีพัฒนาการสูงมากในทำงานที่สะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง

โดยนักศึกษาที่เข้าโครงการที่ได้รับรางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวงยอดเยี่ยมในปีนี้ ได้แก่นายฤทธิเดช เสียงเส้งจาก มหาวิทยาลัยทักษิณ รางวัลที่ได้รับเป็นเงินทุน 100,000 บาท รางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวงความคิดสร้างสรรค์ตกเป็นของ นส. ผานิตชา จันทรสมโภช จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัล 70,000 บาทและรางวัลดาวเด่นบัวหลวงดีเด่นจากรั้วศิลปากรอีกท่านหนึ่ง นายเทิดธันวา คะนะมะ ได้รับรางวัลเป็นทุนจำนวน 50,000 บาท

คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช กรรมการมูลนิธิบัวหลวง และประธานโครงการดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑ ครั้งที่ ๑๐ เปิดเผยว่าทางคณะกรรมการได้ตัดสินจากผลงานศิลปะเกือบ ๗๐ ชิ้นจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ร่วมโครงการตลอด 10 วันที่ผ่านมา จากทั้งหมด ๓๕ คณะ ๓๒ สถาบันการศึกษา โดยผู้ได้รับรางวัลคือผู้ที่สร้างผลงานได้ตอบโจทย์ตามหัวข้อ พร้อมแสดงถึงทักษะและความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นกว่า

คุณหญิงชดช้อยกล่าวย้ำว่า "เวที่นี้ได้เป็นบันไดช่วยให้อดีตผู้ที่เข้าโครงการแล้วได้เติบโตเป็นศิลปินดังระดับประเทศแล้ว พัฒนาการทั้งทางด้านทักษะและจินตนาการของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในแต่ละปีก็ได้แสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการดาวเด่นบัวหลวงตลอดสิบปีที่ผ่านมานั้นประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งตามพระประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติต์พระบรมราชินีนาถ"

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าฯ เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ" และมอบหมายให้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการภายใต้มูลนิธิบัวหลวง โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าฯ เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการของศิลปินไทย โดยเฉพาะศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโสที่ได้รับการยกย่อง สลับสับเปลี่ยนจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี

นอกจากนี้ โครงการดาวเด่นฯยังได้มีศิลปินแห่งชาติได้ให้เกียรติมาเป็นกรรมการและร่วมให้คำแนะนำ อบรมเยาวชนผู้ร่วมโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการในปี ๒๕๕๑ อาทิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง, ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์, อาจารย์ธงชัย รักปทุม, ศาสตราเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, อาจารย์ปัญญา วิจินธนสารและศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี เป็นต้น

อาจารย์เฉลิมชัย ผู้ซึ่งร่วมก่อตั้งโครงการดาวเด่นฯกล่าวว่าการตัดสินรางวัลในปีนี้เป็นไปด้วยความประทับใจกับผลงานของผู้ร่วมโครงการในปีนี้ เนื่องจากผลงานเกือบทั้งหมดได้แสดงถึงความก้าวหน้าของวงการศิลปะไทยไม่เฉพาะในกรุงเทพแต่ยังขยายไปสถาบันการศึกษาจากต่างจังหวัด เห็นได้ว่าการถ่ายทอดความรู้ของผู้ร่วมโครงการรุ่นก่อนๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ขณะเดียวกัน อาจารย์ ปัญญา ผู้ให้การอบรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลาการทำงานก่อนตัดสิน กล่าวว่าความก้าวหน้าทีเด่นชัดในปีนี้คือพัฒนาการเรื่องการแสดงความทางความคิดและการแสดงตัวตนที่ชัดเจน

ผลงานที่ชนะรางวัลทั้งสามและผลงานจากเยาวชนที่ร่วมโครงการนี้ทั้งหมดได้จัดแสดงแล้วที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าฯ ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ – ๑๓ มกราคม ๒๕๖๑ ท่านที่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆได้ทางเฟสบุ๊ค @queengallerybkk หรือทางเวบไซต์ www.queengallery.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ