ชี้แจงข้อกำหนดเงินกู้ ADB

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๓๗
นางสาวศิรสา กันต์พิทยา รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้แจงประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินกู้ ADB ที่มีข้อกำหนดหลายประการ นอกเหนือจากการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้

1. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 มีจำนวน 6,305,654.60 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ จำนวน 6,006,341.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.25 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหนี้ต่างประเทศ จำนวน 299,313.25 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.75 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง โดยเป็นเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 7,888.91 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.64 ของยอดหนี้ต่างประเทศคงค้าง

2. ประเทศไทยได้ร่วมมือกับ ADB จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการดำเนินงานของประเทศ (Country Operations Business Plan: COBP) ระยะ 3 ปี ซึ่งประกอบด้วยโครงการที่เป็นเงินกู้และความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance) โดยแผน COBP เป็นกรอบการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่ได้มีข้อผูกมัดว่าจะต้องกู้เงินจาก ADB และไม่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด ทั้งนี้ โครงการที่อยู่ในแผน COBP เป็นโครงการที่อยู่ในสาขาต่างๆ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และนโยบายรัฐบาล สำหรับโครงการเงินกู้ในแผน COBP ในปี 2561 – 2563 เป็นโครงการในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาการขนส่งมวลชน ไม่มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) สำหรับความช่วยเหลือทางวิชาการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือเพื่อศึกษาทางเทคนิคและวิชาการแบบให้เปล่าในปี 2561 – 2563 เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การปรับปรุงท่าอากาศยาน การศึกษาเรื่องการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการปฏิรูปสู่เกษตร 4.0 และการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบรถไฟ

3. สำหรับการกู้เงินจากต่างประเทศ โครงการจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินโครงการและกู้เงินจากต่างประเทศ โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงินเปรียบเทียบกับแหล่งเงินกู้ในประเทศและแหล่งเงินกู้ต่างประเทศอื่นๆ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด และหากเป็นเงินกู้จากต่างประเทศ จะพิจารณาเงื่อนไขการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความช่วยเหลือทางวิชาการ และระบบการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะต้องนำส่งร่างสัญญาเงินกู้และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้ก่อนที่จะลงนามในสัญญาเงินกู้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ที่มีเงื่อนไขอันส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความเสียเปรียบ และในปี 2560 ยังไม่มีการลงนามในสัญญาเงินกู้กับ ADB เพื่อดำเนินโครงการใด อีกทั้ง ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-Middle Income Country) และไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศภายใต้ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษดังที่กล่าว

คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version