KTAMเพิ่มทางเลือกเปิดขายKT25/75เน้นสะสมมูลค่า จับกลุ่มนักลงทุนรับโอกาสผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้

พุธ ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๖
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทย คอนเซอเวทีฟ 25/75 ( KT-25/75 Class R ) เป็นอย่างสูง โดยเฉพาะการจำหน่ายผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย ที่ได้รับความสนใจจากลูกค้ามากมาย ส่งผลให้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ประมาณ 1 ,700 ล้านบาท ซึ่งกองทุนเปิดจำหน่ายครั้งแรกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ บริษัทจึงเปิดจำหน่ายเพิ่มใน Class A ประเภทสะสมมูลค่า ( KT-25/75 Class A ) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน ได้เลือกลงทุนตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นในประเทศไม่เกิน 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนดังกล่าว ช่วยรักษาระดับความสม่ำเสมอของผลตอบแทน และเพิ่มศักยภาพการเติบโตของผลตอบแทน จากการลงทุนในหุ้นสูงสุดไม่เกิน 25% โดยไม่มีข้อจำกัดถึงขนาดและประเภทหุ้นที่สามารถลงทุนได้ เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนที่ดี กองทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ ทั้งในและต่างประเทศ ให้กับนักลงทุนได้เลือกลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 179 ( KTFF179 ) เสนอขายตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2560 อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งประกอบไปด้วย เงินฝากประจำ Bank of china , Agricultural Bank of China , Abu Dhabi Commercial Bank PJSC บัตรเงินฝาก China Construction Bank , Bank of Communications และ Industrial and Commercial Bank of China Ltd. ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 19% ยกเว้น Abu Dhabi Commercial Bank PJSC ในสัดส่วน5 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนประมาณ 1.35%ต่อปี

ส่วนกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 6 เดือน3 (KTSIV6M3) เป็นกองทุนประเภท Roll Over vkp6 6 เดือน เสนอขายถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ประกอบด้วย ตั๋วแลกเงิน บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด เงินฝากประจำ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 18% ตั๋วแลกเงิน บริษัทราชธานีลิสชิ่ง จำกัด (มหาชน) 15% และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 49% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ1.15%ต่อปี ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้ บุคคลธรรมดาไม่เสียภาษี

อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบ จากปริมาณการซื้อขายที่เบาบางและขาดปัจจัยใหม่ๆในตลาด นักลงทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นยอดขายสุทธิจำนวน 572 ล้านบาท ส่วน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุตามแรงขายเพื่อลดความเสี่ยงจากการปรับขึ้น Fed Fund Rate ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงาน การผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของวุฒิสภา และการผ่านร่างกฏหมายงบประมาณชั่วคราวของสภาคองเกรส อย่างไรก็ตาม เริ่มมีความเสี่ยงทางการเมืองเพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ กรณีทรัมป์รับรองเยรูซาเร็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุคงเหลือ 2 ปี อยู่ที่ 1.79% ต่อปี อายุคงเหลือ 5 ปี อยู่ที่ 2.14% ต่อปี และอายุคงเหลือ 10 ปี อยู่ที่ 2.39% ต่อปี

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ