การปรับใช้แพลตฟอร์ม IoT ในองค์กรจะเป็นแนวโน้มด้านไอที ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2561

พฤหัส ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๔๑
ระบบจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะแบบออบเจ็กต์ การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการนำแนวทางปฏิบัติเพื่อความคล่องตัว (Agile) มาใช้ครอบคลุมทั้งองค์กรจะมีบทบาทสำคัญในปีที่กำลังจะมาถึงนี้

บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ได้เปิดเผยแนวโน้มธุรกิจและเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2561 โดยแนวโน้มดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ร่วมกันของ "ฮิวเบิร์ต โยชิดะ" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและ "รัสเซลล์ สคิงส์ลีย์" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การปรับใช้แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) จะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ด้านไอทีขององค์กรในปี 2561 ควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยโยชิดะและสคิงส์ลีย์ได้ระบุแนวโน้มสำคัญ 10 ประการสำหรับตลาดเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี. 2561 ไว้ดังนี้

#1: ฝ่ายไอทีจะใช้แพลตฟอร์ม IoTเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานโซลูชั่น IoT

โซลูชั่น IoTจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเพื่อช่วยสนับสนุนองค์กรในการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลและกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในเกือบทุกตลาดและภาคอุตสาหกรรม ฝ่ายไอทีจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายปฏิบัติการของธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะทางธุรกิจและกำหนดขอบเขตของโครงการ IoT

โยชิดะกล่าวว่า "การสร้างโซลูชั่น IoT ที่สามารถสร้างมูลค่าที่แท้จริงได้นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะหากไม่มีสถาปัตยกรรมหลักที่เหมาะสมหรือไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงในด้านการสร้างแบบจำลองสถานการณ์และการทำให้หน่วยงานปฏิบัติงานและกระบวนการทำงานกลายเป็นระบบดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นการเลือกแพลตฟอร์ม IoT และผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์จึงมีความสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง"

"องค์กรควรมองหาแพลตฟอร์ม IoT ที่มีสถาปัตยกรรมแบบเปิดและยืดหยุ่นเพื่อช่วยลดความยุ่งยากในการผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีที่เพิ่มเข้ามาและผลักดันให้เกิด "ระบบหลอมรวมกัน" เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ซึ่งนั่นจะส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องออกแบบ สร้าง ทดสอบ และปรับใช้อย่างรวดเร็วโดยที่มีความยุ่งยากน้อยที่สุด" สคิงส์ลีย์กล่าวเสริม

#2: ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์ที่ชาญฉลาด

องค์กรต่างๆ ได้เริ่มกระบวนการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลแล้วในปีนี้ แต่ปัญหาเริ่มแรกที่เกิดขึ้นคือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของพวกเขา เนื่องจากข้อมูลมักถูกล็อคอยู่ในคลังข้อมูลแบบแยกส่วนที่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการคัดแยกและใช้งาน คลังข้อมูลเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และไม่มีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ล้าสมัย หรือใช้ไม่ได้อีกต่อไปเมื่อมีการเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจหรือการเป็นเจ้าของกิจการ

"นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลบอกเราว่า 80% ของงานที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกคืองานด้านการค้นหาและจัดเตรียมข้อมูล ซึ่งเป็นงานที่น่าเบื่ออย่างมาก ทั้งนี้ แนวคิดของข้อมูลที่จัดเก็บคือ ข้อมูลดิบ(Data Lake) มีความน่าสนใจอย่างมาก แต่คุณก็ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดไปใส่ไว้ในระบบเดียวได้ เว้นแต่ข้อมูลนั้นจะได้รับการคัดแยก จัดรูปแบบ และจัดทำดัชนี หรือติดแท็กเมตาดาต้าแล้วเพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บคือ ข้อมูลดิบดังกล่าวมีความสามารถด้านการรับรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง (Content Aware) มิฉะนั้นคุณอาจต้องจบลงด้วยข้อมูลดิบที่ไร้ประโยชน์ก็เป็นได้" สคิงส์ลีย์ให้ความเห็น

แม้ว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์จะสามารถจัดเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างได้เป็นจำนวนมหาศาล และมีฟังก์ชั่นค้นหาและบริหารจัดการเมตาดาต้า แต่ยังคงขาดคุณสมบัติด้านการรับรู้บริบทที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์มีความสามารถอัน "ชาญฉลาด" ซึ่งทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่สามารถค้นหาและอ่านเนื้อหาในไซโลข้อมูลทั้งแบบที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง รวมทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวเพื่อคัดแยก จัดรูปแบบ และจัดทำดัชนีได้ด้วย

"Hitachi Content Intelligence สามารถดึงข้อมูลจากไซโลและนำเข้าสู่เวิร์กโฟลว์เพื่อประมวลผลได้หลายวิธี โดยสามารถให้สิทธิ์ผู้ใช้ Content Intelligence ได้ตามความเหมาะสมเพื่อจำกัดให้เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้นสามารถดูเนื้อหาที่มีความสำคัญได้ รวม ทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบุกรุกระบบควบคุมความปลอดภัยของเอกสารข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ Content Intelligence สามารถสร้างกระบวนการค้นหาขององค์กรที่มีมาตรฐานและสอดคล้องกันสำหรับระบบไอทีของทั้งองค์กรได้ โดยสามารถเชื่อมต่อและรวมข้อมูลที่มีโครงสร้างหลายลักษณะจากไซโลข้อมูลที่แตกต่างกันและในตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ จากนั้นจะดำเนินการคัดแยก จำแนกประเภท เพิ่มคุณค่า และจัดหมวดหมู่ข้อมูลทั้งหมดขององค์กรให้โดยอัตโนมัติ"สคิงส์ลีย์กล่าว

#3: การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์

ในปี 2561 จะเห็นการเติบโตของการวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวงกว้างเนื่องจากบริษัทต่างๆ มองเห็นผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนของพวกเขา ข้อมูลจากบริษัท ไอดีซี ระบุว่าการเติบโตของรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่อิงกับข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่เหลือของ 1 ใน 3 ของบริษัทที่ติดทำเนียบฟอร์จูน500 จนถึงสิ้นปี 2560

"AI จะกลายเป็นกระแสหลักของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค เช่น Amazon Alexa และ Apple Siri โดยบริษัท ฮิตาชิ เชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นความร่วมมือระหว่าง AI กับมนุษย์ในการสร้างประโยชน์อย่างแท้จริงให้กับสังคมได้ เราได้นำเครื่องมืออย่าง Pentaho Data Integration เข้ามาใช้งานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้กระบวนการทางวิศวกรรมข้อมูลและกระบวนการวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นรูปแบบเสรีเพื่อสร้าง Machine Intelligence อันเป็นส่วนผสมของ Machine Learning กับ AI ที่พร้อมเปิดกว้างให้นักพัฒนาและวิศวกรสามารถเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น"สคิงส์ลีย์กล่าว

การจัดระเบียบการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) โดย Pentaho ที่รวมระบบภาษาต่างๆ เช่น R และ Pythonรวมถึงเทคโนโลยีต่างในการเรียนรู้ของเครื่อง เช่น Spark MLlib ถือเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานดังกล่าว ทั้งนี้ Lumada ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม IoTของฮิตาชิจะช่วยปรับขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้ของเครื่องด้วยอินพุตและเอาต์พุตที่ยืดหยุ่นทั้งยังช่วยสร้างมาตรฐานให้กับการเชื่อมต่อเพื่อให้สามารถกำหนดค่าและจัดการทรัพยากรได้อย่างอัตโนมัติ ทั้งยังทำงานร่วมกับ Python, R และ Java ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

#4: การปรับใช้การวิเคราะห์วิดีโอจะเพิ่มมากขึ้น

การวิเคราะห์เนื้อหาวิดีโอจะเป็น "ดวงตาที่สาม" ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในหลายๆ ด้านนอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัยให้กับสาธารณะ โดยอัลกอริธึมของ Al จะทำหน้าที่ตรวจจับและกำหนดเหตุการณ์ชั่วคราวเชิงพื้นที่และเชิงสัมพันธ์โดยอัตโนมัติด้วยการผสานรวมกับข้อมูลอื่นๆ ของ IoT เช่น GPS ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และฟีดข้อมูลโซเชียลมีเดีย เพื่อนำไปใช้กับธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ ธุรกิจค้าปลีก การดูแลสุขภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิต การศึกษา และความบันเทิงเป็นต้น

โยชิดะเชื่อว่า วิดีโอสามารถนำเสนอรูปแบบการทำงานได้อย่างโดดเด่น เช่น การเคลื่อนที่ในรูปแบบอัตโนมัติ (การเคลื่อนที่แบบสามมิติที่ใช้ในการนำทางระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ) การวิเคราะห์พฤติกรรม และรูปแบบอื่นๆ ของการรับรู้เชิงสถานการณ์

โยชิดะกล่าวว่า "ผู้ค้าปลีกกำลังใช้วิดีโอเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเข้ารับบริการของลูกค้าและเวลาที่ลูกค้าใช้ในการหยุดดูสินค้า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดตำแหน่งจัดวางของสินค้าและนำเสนอความช่วยเหลือด้านการขาย ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มยอดขายได้อย่างสูงสุดโดยตรง การวิเคราะห์วิดีโอต้องอาศัยข้อมูลวิดีโอป้อนเข้าที่มีคุณภาพดี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิดีโอหลายรูปแบบ เช่น การลดเสียงรบกวน การป้องกันภาพสั่นไหว การบดบัง และความละเอียดขั้นสูงสุด ทั้งนี้ การวิเคราะห์วิดีโออาจเป็นม้ามืดด้านการวิเคราะห์ที่จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ผลตอบแทนจากการลงทุน และการสร้างการวิเคราะห์ที่สามารถดำเนินการได้จริงก็เป็นได้"

#5: การนำแนวทางปฏิบัติเพื่อความคล่องตัว (Agile) มาใช้ครอบคลุมทั้งองค์กร

การแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจที่รวดเร็วและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่องค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังนำแนวทางปฏิบัติเพื่อความคล่องตัว (Agile) มาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น

องค์กรด้านไอทีที่มีการดำเนินงานในรูปแบบดั้งเดิมในลักษณะของการดูแลเซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเสมือนจริง และในตอนนี้ครอบคลุมถึงระบบคลาวด์ด้วยนั้น กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจ ในความเป็นจริงแล้ว หลายคนอาจเถียงว่าไอทีควรมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ด้านไอทีไม่ใช่ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

สคิงส์ลีย์กล่าวว่า"แม้ว่าศูนย์ข้อมูลจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างที่เก็บข้อมูลที่ใช้ร่วมกันเพื่อกำจัดปัญหาเรื่องไซโลข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ยังคงมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของตนเองไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวม ปัจจุบันเราได้สร้างทีมข้ามสายงานที่นำแนวทางปฏิบัติงานเพื่อความคล่องตัวมาใช้อย่างเต็มที่เป็นเวลา 2 - 4 สัปดาห์ โดยที่ฝ่ายไอทีสามารถมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลลัพธ์ดังกล่าวออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"

และภายใต้การนำของเรเน่ แมคคาสเคิล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ ปัจจุบันบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา กำลังใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อความคล่องตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพื่อผลักดันการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล และสิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

โยชิดะกล่าวว่า "ความคล่องตัว (Agile) ช่วยให้เรามีแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานที่รวดเร็ว โดยทีมข้ามสายงานขนาดเล็กซึ่งมีทิศทางและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วโดยสอดคล้องกับแนวทางของคณะกรรมการบริหาร ทั้งยังมีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันของเราได้อย่างเห็นผล" นอกจากนี้ โยชิดะยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าในปี 2561 จะมีองค์กรจำนวนมากหันมาพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Agile และ DevOps ภายใต้แนวทางปฏิบัติเพื่อความคล่องตัวที่ใช้ก้นอย่างครอบคลุมทั้งองค์กร

#6: การกำกับดูแลข้อมูล 2.0

ในปี 2561 จะเห็นความท้าทายใหม่ๆ ในการกำกับดูแลข้อมูลซึ่งกำหนดให้องค์กรต่างๆ ต้องนำกรอบการทำงานใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะมาจากกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation: GDPR) ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีถิ่นพำนักในสหภาพยุโรปมีสิทธิ์ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้มากขึ้น กฎระเบียบดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นและยังเพิ่มความเสี่ยงในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลด้วย การละเมิด GDPR อาจต้องเสียค่าปรับมากถึง 21.75 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น4% ของยอดขายทั้งปีจากทั่วโลกของสหภาพยุโรปในปีงบประมาณก่อนหน้านี้

สคิงส์ลีย์ให้ความเห็นว่า "การกำกับดูแลข้อมูลก่อนหน้านี้จะขึ้นอยู่กับการประมวลผลข้อมูลและเมตาดาต้า ขณะที่การกำกับดูแลข้อมูลแบบใหม่ในตอนนี้จะพิจารณาเรื่องบริบทข้อมูลเป็นหลัก หากผู้ใช้เรียกร้องสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) บริษัทจะต้องสามารถค้นหาข้อมูลของบุคคลนั้นกำจัดข้อมูลดังกล่าวทิ้ง และพิสูจน์ได้ว่าได้ดำเนินการตามความต้องการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว นอกจากนี้ การแจ้งเตือนการฝ่าฝืนข้อบังคับของ GDPR ภายใน 72 ชั่วโมงยังหมายความว่าองค์กรจะต้องเผชิญกับกรอบเวลาของการตอบสนองข้อเรียกร้องในระยะเวลาที่สั้นอย่างมากอีกด้วย ความสามารถในการดำเนินการดังกล่าวไม่อาจทำได้หากข้อมูลอยู่กระจัดกระจายในแอพพลิเคชั่นต่างๆ และยังครอบคลุมไม่ถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือหรือในระบบคลาวด์ด้วย ในปี 2561 แนวทางการกำกับดูแลข้อมูลจะต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อรวมเครื่องมือเกี่ยวกับการสืบค้นเนื้อหาอัจฉริยะเอาไว้ด้วย"

#7: คอนเทนเนอร์ช่วยยกระดับการเข้าสู่ระบบเสมือนจริงได้อีกขั้น

ระบบเสมือนจริง (Virtualization) ที่ทำงานบนคอนเทนเนอร์จะเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงล่าสุดที่จะได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปี 2561 เมื่อพิจารณาเครื่องเสมือน (VM)รุ่นใหม่ๆ จะพบว่ามีหลายส่วนรวมอยู่ในอุปกรณ์เครื่องเดียว (รวมถึงระบบปฏิบัติการ: OS) ขณะที่คอนเทนเนอร์จะมีเพียงแอพพลิเคชั่นเพียงอย่างเดียวและทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับว่าแอพต้องการสิ่งใดเพิ่มเติม

โยชิดะกล่าวเสริมว่า "คอนเทนเนอร์มีน้ำหนักเบาเนื่องจากไม่ต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะสำหรับคอนเทนเนอร์แต่ละรายการจึงช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก นอกจากนี้ การกำหนดค่าแบบเปิดของคอนเทนเนอร์ยังหมายความว่า คอนเทนเนอร์สามารถทำงานบนแพลตฟอร์มจำนวนมากและทำให้แอพพลิเคชั่นสามารถทำงานแยกจากกันได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น แอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยกันสามารถเขียนโปรแกรมให้อยู่ในรูปแบบของบริการย่อย (micro service) และเรียกใช้ได้ในคอนเทนเนอร์ ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังสามารถปรับขยาย และมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วย"

"องค์กรต่างๆ กำลังเดินหน้าพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่มีคอนเทนเนอร์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งเปิดกว้างเฉพาะผู้ที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานเท่านั้น ในฐานะองค์กรแห่งหนึ่ง เราได้สร้างแพลตฟอร์ม IoT ที่ชื่อว่า Lumada ไว้ในคอนเทนเนอร์และบริการย่อยต่างๆ แล้ว และกำลังเดินหน้าย้ายซอฟต์แวร์การบริหารจัดการของเราเกี่ยวกับโหนดงานของ Pentaho, Hitachi Content Intelligence และ Hitachi Infrastructure Director ไปยังคอนเทนเนอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ Storage Virtualization Operating System (SVOS) สำหรับ Virtual Storage Platforms (VSP) ยังมีปลั๊กอินสำหรับจัดสรรระบบจัดเก็บข้อมูลของ VSP อย่างต่อเนื่องในคอนเทนเนอร์ด้วย ซึ่งเป็นแนวโน้มหนึ่งที่เราคาดหวังว่าผู้จำหน่ายระบบจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องเดินตามทิศทางนี้ในปีหน้า"

#8: โครงการบล็อกเชน (Blockchain) จะเติบโตเต็มที่

โยชิดะกล่าวว่า บล็อกเชนจะอยู่ในกระแสในปี 2561 เนื่องด้วยเหตุผลสองประการ ดังนี้

ประการแรก คือการใช้สกุลเงินเข้ารหัส (Crypto currency) ซึ่งกำลังได้รับการยอมรับอย่างมากในปีนี้ เนื่องจากเป็นสกุลเงินที่มีเสถียรภาพในประเทศต่างๆ ที่กำลังตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ก็ยังแจ้งด้วยว่าพวกเขาจะสร้างสกุลเงินเข้ารหัสแบบคงที่ในปี 2561 ที่จะดำเนินการโดยธนาคารและบริหารจัดการโดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ โดยผู้บริโภคจะใช้สกุลเงินนี้เพื่อการชำระเงินแบบ P2P, ในระบบอีคอมเมิร์ซ และการโอนเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารหลายแห่งหันมาใช้บล็อกเชนเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถที่จำเป็นในการบริหารจัดการบัญชีในสกุลเงินเข้ารหัสได้

ประการที่สอง คือการใช้บล็อกเชนกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในภาคการเงินสำหรับกระบวนการทำงานที่เป็นกิจวัตร เช่น การควบคุมภายใน การจัดทำเอกสารข้อมูลลูกค้า และการฟ้องร้องทางกฎหมาย นอกจากนี้ การโอนเงินระหว่างธนาคารผ่านระบบบัญชีแยกประเภทของบล็อกเชนยังคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2561 ด้วย รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่จะเริ่มมองเห็นต้นแบบเกี่ยวกับสัญญาที่ชาญฉลาดและบริการด้านการพิสูจน์ตัวตนต่างๆ สำหรับการดูแลสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐ ความปลอดภัยด้านอาหาร และสินค้าลอกเลียนแบบ

#9: ได้เวลาของระบบพิสูจน์ตัวตนแบบไบโอเมตริกซ์แล้ว

จำนวนรหัสผ่านที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคในปัจจุบันจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการก้าวเข้าสู่ระบบพิสูจน์ตัวตนแบบไบโอเมตริกซ์ในปี 2561

สคิงส์ลีย์กล่าวว่า "ในความเป็นจริงแล้ว พวกเราส่วนใหญ่มักจะใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีที่เราไม่คิดว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อแฮกเกอร์สามารถเจาะรหัสผ่านของบัญชีใดบัญชีหนึ่งมาได้ ก็จะสามารถนำรหัสผ่านนั้นไปใช้เจาะบัญชีอื่นๆ ได้โดยง่าย องค์กรธุรกิจต่างตระหนักดีว่าสิ่งที่เป็นตัวแทนตัวตนของเรา เช่น รหัสผ่าน บัตรเอทีเอ็ม และหมายเลข PIN ต่างๆ หรือแม้แต่การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน สามารถถูกแฮกได้ทั้งนั้น"

"ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนและบริษัทด้านการเงินกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ไบโอเมตริกซ์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ใช้อย่างแท้จริง แต่การเลือกไบโอเมตริกซ์ที่ถูกต้องนั้นถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะหากข้อมูลไบโอเมตริกซ์ เช่น ลายนิ้วมือถูกแฮก คุณจะไม่สามารถรีเซ็ตได้เหมือนกับการรีเซ็ตหมายเลข PIN หรือรหัสผ่าน และลายพิมพ์นิ้วมือสามารถปรากฏอยู่บนทุกสิ่งที่เราสัมผัส ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะมีใครบางคนนำลายพิมพ์นิ้วมือนั้นกลับมาใช้ใหม่ได้ บริษัท ฮิตาชิ ขอแนะนำให้ใช้ลายเส้นเลือดของนิ้วมือ (Finger Vein) ซึ่งจะมองเห็นได้เมื่อฉายแสงอินฟราเรดผ่านนิ้วมือของจริงเท่านั้น จึงถือว่าเป็นวิธีที่ป้องกันการปลอมแปลงที่ดีที่สุด"

#10: การร่วมกันสร้างมูลค่า

ความคิดทางธุรกิจแบบดั้งเดิมมักเริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่ว่าผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดมูลค่าโดยอัตโนมัติผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่พวกเขาเลือกไว้ขณะที่ผู้บริโภคจะศึกษาข้อมูลผ่านการวิจัยตลาดและมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างโซลูชั่นและมูลค่าในทางอ้อม ในปี 2561 โยชิดะเชื่อว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการร่วมกันสร้างมูลค่า ซึ่งจะเปลี่ยนจากการสร้างโซลูชั่น และมูลค่าที่มีผู้ผลิตเป็นศูนย์กลางมาเป็นการร่วมกันสร้างมูลค่าอย่างแท้จริง

โยชิดะกล่าวว่า "ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่สามารถอยู่รอดในโลกดิจิทัลได้หากยังคงยึดมั่นในแนวทางการสร้างมูลค่าแบบเดิมๆ จะเห็นได้ว่าในโลกดิจิทัลนั้น การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่องและเกิดปัญหาหลายอย่างในหลายภาคส่วน ซึ่งไม่อาจชี้ชัดไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงไม่สามารถใช้เวลานานหลายปีเพื่อพัฒนาโซลูชั่นขึ้นมา ขณะที่ผู้บริโภคเองนั้นก็ไม่สามารถวางแผนธุรกิจในรูปแบบของแผนงานระยะยาวหลายปีที่อาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบันได้ หากผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ พวกเขาจะต้องร่วมมือกันเพื่อก้าวสู่กระบวนการสร้างสรรค์มูลค่าร่วมกัน"

ทั้งนี้ บริษัท ฮิตาชิ เห็นว่าการร่วมกันสร้างมูลค่านั้นเป็นกระบวนการของการทำงานร่วมกับลูกค้าและผู้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศเพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าใหม่ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ ลูกค้า และสังคมโดยรวม ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ร่วมมือกับลูกค้าจำนวนมากในการสร้างสรรค์และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการร่วมกันสร้างมูลค่า และคาดว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในปี 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก